1. เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายวิธีการใช้ตรวจสอบโปรตีน
2. ตรวจสอบและเปรียบเทียบปริมาณโปรตีนในอาหารชนิดต่าง ๆ ได้
1. หลอดทดลองขนาดกลาง |
4 หลอด |
2. บิ๊กเกอร์ขนาด 100 cm3 |
2 ใบ |
3. หลอดหยด |
1 อัน |
4. กะบอกตวงขนาด 10 cm3 |
1 ใบ |
5. ที่วางหลอดทดลอง |
1 อัน |
6. ไข่ขาว |
1 cm3 |
7. สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 2.5 mod/dm3 |
4 cm3 |
8. สารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต |
1 cm3 |
9. อาหารอื่นที่สนใจ เช่น นมสด น้ำมัน นมถั่วเหลือง ข้าวเจ้าบด เป็นต้น |
1 cm3 |
1. ใส่ไข่ขาว 1 cm3 ลงในหลอดทดลองขนาดเล็ก เติมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 2.5 mod/dm3 จำนวน 1 cm3
2. เติมสารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต 0.1 mod/dm3 ลงไป 5 หยด สังเกตและบันทึกการเปลี่ยนแปลง
3. ทำการทดลองซ้ำในข้อ 1 และ 2 แต่ใช้อาหารอื่น ๆ ที่นักเรียนสนใจ เช่น นมถั่วเหลือง นมสด น้ำมันพืช ข้าวเจ้าบดละเอียด เป็นต้น สังเกตและบันทึกผลที่ได้
4. นำเสนอและสรุปผลการทดลอง
หมายเหตุ : สมบัติเฉพาะตัวของโปรตีน คือทำปฏิกิริยากับสารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต ในสภาพที่เป็นเบส ให้สารที่มีสีม่วงหรือชมพู
จากผลการค้นคว้าสามารถสรุปผลการทดลองได้ดังนี้
1. ไข่ขาวจะให้สีม่วงอมชมพู น้ำมันพืชจะให้สีฟ้าสำหรับสารอื่นอาจให้สีชมพูไปจนถึงสีม่วง
2. ถ้าสีของสารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสีชมพู หรือ สีม่วง แสดงว่าสารที่นำมาทดสอบมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบ
3. ถ้ามีสีชมพูแสดงว่ามีโปรตีนปริมาณน้อย และถ้าเป็นสีม่วงแสดงว่ามีโปรตีนในปริมาณมาก
4. วิธีง่าย ๆ ที่ใช้ทดสอบโปรตีนคือให้โปรตีนทำปฏิกิริยากับสารละลาย
คอปเปอร์ (II) ซัลเฟตในเบส
|