<< Go Back

             โปรตีนและกรดอะมิโน อันเป็นส่วนประกอบของโปรตีนนั้น ถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของชีวิต

            ในทุกๆ เซลล์บนร่างกายของเรา ตั้งแต่กล้ามเนื้อกระดูกไปจนถึงเส้นผมและขน ล้วนมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น โปรตีนนั้นถูกสร้างขึ้นจากกรดอะมิโนชนิดต่างๆ ประกอบกันเป็นสายยาว โดยมีมากถึงกว่ายี่สิบชนิด จัดเรียงตัวกันไปในแบบต่างๆ ส่งผลให้โปรตีนมีโครงสร้างและหน้าที่แตกต่างกันออกไปตามการจัดเรียงนั้นๆ โปรตีนเหล่านีมีความสำคัญหลายอย่าง อาทิเช่น 

  • รักษาโรคสะเก็ดเงินรุนแรง
  • เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย
  • ซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ และสร้างเซลล์ใหม่
  • ช่วยให้อวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ ทำงานอย่างปกติ
  • เสริมสร้างการเจริญเติบโต และพัฒนาการในเด็ก วัยรุ่น และหญิงตั้งครรภ์

เราจะได้รับโปรตีนได้อย่างไร? 

            เราได้โปรตีนจากอาหารที่รับประทานเข้าไป โปรตีนจะถูกย่อยสลายเป็นกรดอะมิโนในร่างกายของเรา โดยอาหารซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ สัตว์ปีก ปลา ไข่ และในอาหารที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์บางชนิด ก็มีโปรตีนสูงเช่นกัน ได้แก่ ถั่วชนิดต่างๆ และธัญพืช (เช่น จมูกข้าวสาลี และพืชควินัวร์ เป็นต้น) สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว การทานอาหารอย่างพอเหมาะ ครบหมู่ ก็ทำให้ได้รับโปรตีนเพียงพอต่อความต้องการ โดยไม่ต้องทานโปรตีนเสริมแต่อย่างใด

สถาบันทางการแพทย์แนะนำให้คนวัยผู้ใหญ่ทานโปรตีนอย่างน้อย 8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 20 ปอนด์ และควรได้รับพลังงานจากโปรตีน 10-35% จากพลังงานที่ได้รับทั้งหมด เพื่อสุขภาพที่ดี อย่างไรก็ตาม ปริมาณโปรตีนที่เราควรได้รับยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ทั้ง อายุ สุขภาพ โดยเฉพาะเด็กและวัยรุ่น ซึ่งปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับแตกต่างจากผู้ใหญ่ 

ตัวอย่างอาหาร ซึ่งอุดมไปด้วยโปรตีน มีดังนี้

  • เนื้อสัตว์หรือเนื้อปลาไม่ติดมัน 2-3 ออนซ์
  • ถั่วปรุงแห้งครึ่งถ้วย
  • ไข่หนึ่งฟอง
  • เนยถั่ว 2 ช้อนโต๊ะ
  • ชีส 1 ออนซ์

ตัวอย่างอาหาร ซึ่งมีโปรตีนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี มีดังนี้

  • ไก่งวง
  • เนื้อไก่ไม่ติดหนัง
  • เนื้อกระทิง
  • เนื้อวัวไม่ติดมัน
  • เนื้อหมูไม่ติดมัน
  • ปลาหรือหอย
  • ถั่วต่างๆ (ถั่วพินโต ถั่วดำ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วเลนทิล ถั่วแยก และถั่วชิกพี)
  • เมล็ดพืชต่างๆ (อัลมอนด์ ฮาเซลนัทส์ ถั่วผสม เนยถั่ว เมล็ดทานตะวัน และวอลนัทส์)
  • ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้และเทมเป้
  • อาหารไขมันต่ำต่างๆ

            การพิจารณาปริมาณไขมันในอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยเราควรมุ่งทานอาหารที่มีโปรตีนสูงและมีไขมันอิ่มตัวต่ำ ในปัจจุบัน มีงานวิจัยมากมายแสดงให้เห็นว่า การรับประทานอาหารจำพวกปลา เนื้อไก่ ถั่ว และธัญพืชแทนเนื้อวัวหรือเนื้อแดง ช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และลดโอกาสการเกิดโรคจำพวกโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และมะเร็งได้

โปรตีนที่มากเกินไปมีโทษหรือไม่? 

เมื่อร่างกายมีโปรตีนสะสมมากเกินไป อาจเกิดภาวะต่างๆ ดังต่อไปนี้ได้ 

  • ปัญหาระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด
  • ปัญหาเกี่ยวกับตับ
  • ปวดท้อง
  • ท้องร่วง
  • เพิ่มโอกาสการเป็นโรคเกาต์ (กรดยูริคในร่างกายเพิ่มขึ้นทำให้เกิดการอักเสบของข้อ)
  • ความดันต่ำ
  • พฤติกรรมการทานอาหารเปลี่ยนแปลงไป
  • ไตทำงานหนักมากขึ้น

            หากเราทานอาหารเหมาะสม ครบหมู่ ในปริมาณที่พอดี ปริมาณโปรตีนที่ได้รับก็มักจะอยู่ในช่วงที่ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม หากต้องการทานอาหารที่มีโปรตีนสูงมากหรืออาหารที่ใส่โปรตีนหรือกรดอะมิโนเสริม ควรปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อนตัดสินใจ

โปรตีนกับการแพ้อาหาร

            ความหมายของการแพ้อาหารก็ คือ ปฏิกริยาที่ภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อโปรตีนในอาหารชนิดหนึ่งๆ มากเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่อาหาร ดังต่อไปนี้

  • นมวัว
  • ไข่
  • ปลา
  • หอย
  • ถั่วเหลือง
  • ข้าวสาลี
  • ถั่วลิสง
  • ถั่วยืนต้นต่างๆ

https://www.honestdocs.co/protein

    << Go Back