<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถทำกิจกรรมเพื่อศึกษาการหมุนเวียนเลือดของปลา หรือในโครงสร้างของสัตว์อื่นๆ ที่บางและใส จนสามารถสังเกตการหมุนเวียนของเลือด
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกทิศทางการไหลของเลือด และความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของหลอดเลือดกับความเร็วการไหลของเลือด

1. ลูกอ๊อด หรือปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาหางนกยูง
2. สำลี
3. สไลด์และกระจกปิดสไลด์
4. กล้องจุลทรรศน์

1. นำลูกอ๊อดหรือปลาขนาดเล็กวางลงบนสไลด์ ใช้สำลีชุบน้ำพันรอบบริเวณ ส่วนหัว แล้วนำกระจกปิดสไลด์วางทับบริเวณส่วนหาง ดังภาพ

2. นำสไลด์ไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยใช้เลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายต่ำศึกษาทิศทาง และความเร็วของการเคลื่อนที่ของเม็ดเลือดตรงบริเวณหาง สังเกตการเรียงตัวของเม็ดเลือด

- ทิศทางการเคลื่อนที่ของเม็ดเลือดในหลอดเลือดต่างๆ เป็นอย่างไร
- การเคลื่อนที่ของเม็ดเลือดในหลอดเลือดมีความเร็วเท่ากันทุกเส้นหรือไม่ อย่างไร
- นักเรียนมีข้อสังเกตอย่างไรว่าหลอดเลือดใดเป็นหลอดเลือดอาร์เตอรีหรือหลอดเลือดเวน

ผลการทดลองที่ได้ คือ เซลล์เม็ดเลือดจะเคลื่อนที่สวนทางกัน  บางหลอดเลือด เซลล์เม็ดเลือดเคลื่อนที่ไปทางหัวบางหลอดเลือดเซลล์เม็ดเลือดเคลื่อนที่ไปทางหาง

การเคลื่อนที่ของเซลล์เม็ดเลือดในหลอดเลือดมีความเร็วไม่เท่ากัน เซลล์เม็ดเลือดที่เคลื่อนไปทางด้านหางเร็วกว่าไปทางด้านหัว

หลอดเลือดอาร์เตอรีเลือดจะไหลจากทางด้านโคนหางไปยังด้านปลายหาง ส่วนหลอดเลือดเวนจะไหลจากด้านปลายหางไปยังด้านโคนหาง (ภาพในกล้องจุลทรรศน์จะกลับทิศทางซ้ายเป็นขวา)

สรุปได้ว่า
การหมุนเวียนเลือดของปลาจะมีหลอดเลือดขนาดไม่เท่ากัน และการเคลื่อนที่ของเซลล์เม็ดเลือดในหลอดเลือดขนาดต่างกัน จะไม่เท่ากัน เซลล์เม็ดเลือดในหลอดเลือดขนาดเล็กจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่า นอกจากนี้จะเห็นว่ามีหลอดเลือดเล็กๆ เชื่อมโยงระหว่างหลอดเลือดแต่ละเส้นด้วย

<< Go Back