<< Go Back

หน้าที่ของเลือด
ในสัตว์ชั้นสูงร่างกายมีเซลล์จำนวนมาก มีอวัยวะต่างๆ หลายระบบ ซึ่งแต่ละระบบต้องการสารอาหารเพื่อให้เกิด พลังงานและการเจริญเติบโต ร่างกายจึงมีความจำเป็นต้องขนส่งสารอาหารตลอดจนแก๊สออกซิเจนเพื่อสันดาปสาร อาหาร ให้เกิดพลังงานภายในเซลล์ตัวที่ทำหน้าที่ในการขนส่งนี้คือ เลือด ซึ่งจะไหลเวียนไปทั่วร่างกายเพื่อนำสิ่งที่ร่างกายต้องการ ใช้เพื่อการดำรง ชีวิต และขณะเดียวกันก็นำสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการออกไปขับทิ้ง เลือดจึงเป็นตัวกลางในการขนส่ง สรุปหน้าที่ของเลือดได้ดังนี้
1. ขนส่งแก๊สออกซิเจน โดยไหลเวียนไปตามเส้นเลือดแดง และรับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากทุกส่วนของร่างกาย ไปตามเส้นเลือดดำ และขับทิ้งที่เหงือก
2. ขนส่งสารอาหารจากระบบทางเดินอาหารไปยังส่วนต่างๆของร่างกายบางส่วนนำไปเก็บสะสมที่ตับไว้ใช้คราวจำเป็น
3. ขนส่งของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการไปขับทิ้ง เช่นจากเซลล์ไปยังไต
4. ขนส่งสารบางชนิด เช่น ฮอร์โมน ไปยังเซลล์หรืออวัยวะเป้าหมาย

ส่วนประกอบของเลือด
เลือดของปลามีลักษณะ เหมือนสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ คือ ประกอบด้วยส่วนที่ เป็นของเหลว ได้แก่น้ำเลือดหรือ พลาสมา (plasma) และส่วนที่เป็นของแข็งได้แก่ เม็ดเลือดแดง (erythrocyte หรือ red blood corpuscle) เม็ดเลือดขาว (leucocyte หรือ white blood corpuscle) และเกล็ดเลือด (blood platelet หรือ thrombocyte)
1. น้ำเลือดหรือพลาสมา เป็นของเหลวใสสีเหลืองอ่อน มีเกลือแร่ สารอาหารที่ย่อยแล้ว ของเสีย เอนไซม์ แอนติบอดี แก๊ส น้ำเหลือง และฮอร์โมนละลายอยู่
2. เม็ดเลือดแดง ประกอบด้วยฮีโมโกลบิน (haemoglobin) ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เม็ดเลือดแดงดูดซึมเอาแก๊สออกซิเจน ได้มากกว่าน้ำ เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิดของปลา ปกติจะมีรูปไข่มีความยาว 7-36 ไมครอน จำนวนของเม็ดเลือดแดงก็ขึ้นอยู่กับชนิดของปลา คือ ปลาที่ว่ายน้ำเร็วจะมีเม็ดเลือดแดงมากกว่าปลาที่ว่ายช้า เช่น ปลา อินทรีมีเม็ดเลือดแดง 3 ล้านเซลล์ต่อมิลลิลิตร ในขณะที่ปลาทองมี 1.4 ล้านเซลล์ต่อมิลลิลิตร
3. เม็ดเลือดขาว เป็นเซลล์ไม่มีสี ส่วนใหญ่มีรูปไข่หรือทรงกลม มีปริมาณ 20,000-150,000 เซลล์ต่อมิลลิลิตร เม็ดเลือดขาวเป็นตัวการสำคัญในการทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย แบ่งได้หลายชนิดคือ
3.1 แกรนูโลไซต์ (granulocyse) มีประมาณ 4-40 % ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 ไมครอน มีหลายชนิดขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาการติดสีคือ นิวโทรฟิล (neutrophil) แอซิโตฟิล (acidophil) และเบโซฟิล (basophil) โดยที่นิวโทรฟิลมีหน้าที่ย่อยแบคทีเรียที่บุกรุกเข้ามา แอซิโตฟิลจะกินแบคทีเรีย ส่วนเบโซฟิลยังไม่ทราบ หน้าที่แน่นอน
3.2 อะแกรนูลาร์ ลิวโคไซด์ (agranular leucocyte) มีจำนวนมากที่สุด
3.3 โมโนไซต์ (monocyte) มีลักษณะเหมือนอะแกรนูลาร์ แต่มีขนาดเล็กกว่า มีหน้าที่ป้องกันเชื้อโรค
3.4 เม็ดน้ำเหลือง (lymphocyte) ช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย (antibody)
4. เกล็ดเลือด มีจำนวนมาก มีรูปร่างรี ขนาดเล็กกว่าเม็ดเลือดอื่นๆ ช่วยทำให้เลือดแข็งตัวเวลามีบาดแผล โดยเมื่อ เกิดบาดแผลขึ้นเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายกับเกล็ดเลือดจะปล่อยสารธรอมโบ พลาสติน (thromboplastin) ไปทำปฏิกิริยากับสาร ในพลาสมาจับกันเป็นร่างแห เม็ดเลือดจะมาติดร่างแหเกิดก้อนแข็งขึ้นอุดรูบาดแผลเป็นการห้ามเลือด เส้นร่างแห จะยึดกับ ผนังหลอดเลือดและเนื้อเยื่อข้างๆ แล้วหดตัวรัดแน่นทำให้บาดแผลเชื่อมติดกัน

การสร้างเลือด (haematopoiesis)
การสร้างเลือดในสัตว์เลือดอุ่น เม็ดเลือดเกิดจากไขกระดูก ม้าม และต่อมน้ำเหลือง แต่ในปลามีอวัยวะหลายอย่างทำ หน้าที่นี้ ในปลาที่โตเต็มวัยแล้วเม็ดเลือดยังคงเกิดจากเยื่อบุภายในเส้นเลือด และยังมีบริเวณสร้างเม็ดเลือดจากแหล่งอื่นๆ ด้วย คือ ม้าม โดยม้ามจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนนอก (cortex) มีสีแดง สร้างเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด ส่วนใน (medulla) มีสีขาว สร้างเม็ดน้ำเหลืองและแกรนูโลไซต์ เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุจะถูกทำลายในม้ามด้วย เกล็ดเลือดในปลาปากกลม และปลาฉลามจะถูกสร้างในท่อไต ส่วนแกรนูโลไซต์ถูกสร้างจากสับมิวโคซา (submucosa) ของทางเดินอาหาร ตับ อวัยวะสืบพันธุ์และท่อไต ในปลาปอดและปลากระดูกอ่อนยังมีลำไส้ม้วนสร้างเม็ดเลือดขาวอีกหลายชนิด ในปลาฉลามบาง ชนิด ปลาการ์ และปลาโบว์ฟิน (bowfin, Amia) สามารถสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดได้ในเนื้อเยื่อของกระดูกอ่อนของกะโหลก ศีรษะ คล้ายกับไขกระดูกของสัตว์ชั้นสูง

 

 

                 https://writer.dek-d.com/pear_17/story/viewlongc.php?id=540799&chapter=11

 

<< Go Back