<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถทำการทดลองหาปริมาตรของลมหายใจออก
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถออกแบบการทดลอง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาตรของอากาศที่หายใจออก

1. ขวดพลาสติกใสความจุ 5,000 cm3
2. บิ๊กเกอร์ขนาด 500 cm3
3. ปากกาสำหรับทำเครื่องหมาย
4. สายยางขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 cm ยาว 60 cm
5. กะละมังพลาสติกใส สูง 10 cm

1. ใช้บิ๊กเกอร์ตวงน้ำใส่ขวดให้เต็ม โดยทำเครื่องหมายทุกๆ 500 cm3 ของน้ำที่เติม
2. เติมน้ำให้เต็มขวด แล้วคว่ำลงในกะละมังที่มีน้ำสูง 5 cm ดังรูป

3. นำปลาข้างหนึ่งของสายยางใส่ไว้ที่ปากขวด ดังรูป และให้เพื่อนคนหนึ่งคอยจับขวดไว้
4. สูดลมหายใจเข้าปอดเต็มที่ แล้วเป่าลมหายใจออกให้มากที่สุดเพียงครั้งเดียวทางปลายสายยางอีกข้างหนึ่ง
5. สังเกตผลที่เกิดขึ้น และวัดปริมาตรของลมหายใจที่ไปแทนที่น้ำในขวด
6. ทำการทดลองซ้ำตั้งแต่ ข้อ 2-5 อีก 2 ครั้ง และหาค่าเฉลี่ย

วิธีทำให้ค่าที่ได้ถูกต้องมากที่สุดคือ
1. การทำสเกลที่ขวดบรรจุน้ำต้องถูกต้องและชัดเจน
2. การสูดลมหายใจเข้าต้องสูดให้เต็มที่แล้วเป่าลมหายใจออกให้มากที่สุด
3. ทดลองซ้ำ 2-3 ครั้ง แล้วหาค่าเฉลี่ย

ปริมาตรของอากาศที่หายใจเข้าปกติ แต่ละครั้งมีประมาณ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ถ้ามีการบังคับให้มีการหายใจเข้าเต็มที่มากที่สุด จะมีอากาศเข้าไปยังปอดเพิ่มมากขึ้นจนอาจถึง 6,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งเป็นระดับที่ปอดจะบรรจุอากาศได้เต็มที่ เช่นเดียวกับการบังคับการหายใจออกเต็มที่ อากาศจะออกจากปอดมากที่สุดเท่าที่ความสามารถของกล้ามเนื้อกะบังลม และกล้ามเนื้อซี่โครงจะทำได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อหายใจออกเต็มที่แล้วยังคงมีอากาศตกค้างในปอด ประมาณ 1,100 ลูกบาศก์เซนติเมตร


<< Go Back