ระบบทางเดินหายใจของพีพีมีหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซให้กับสิ่งมีชีวิต ในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมระบบทางเดินหายใจประกอบไปด้วย จมูกหลอดลม ปอด และกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจ ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกแลกเปลี่ยนที่ปอดด้วยกระบวนการแพร่
สัตว์ประเภทอื่นๆ เช่น แมลงมีระบบทางเดินหายใจที่คล้ายคลึงกับมนุษย์แต่มีลักษณะทางกายวิภาคที่ง่ายกว่า ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำผิวหนังของสัตว์ก็ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซได้ด้วย พืชก็มีระบบทางเดินหายใจเช่นกัน แต่ทิศทางการแลกเปลี่ยนก๊าซเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับสัตว์ ระบบแลกเปลี่ยนก๊าซของพืชประกอบไปด้วยรูเล็กๆ ใต้ใบที่เรียกว่าปากใบ
ระบบทางเดินหายใจแบ่งตามโครงสร้าง
1. ระบบทางเดินหายใจส่วนบน (upper respiratory tract, URI) : ประกอบด้วยอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหายใจเหนือกล่องเสียงขึ้นไป ได้แก่ จมูก, คอหอย เป็นต้น โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจส่วนบนเช่น URI infection หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
2. ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง (lower respiratory tract, LRI) : ประกอบด้วย กะบังลม, หลอดลม, ซี่โครง และปอด
ระบบทางเดินหายใจแบ่งตามหน้าที่
1. หลอดลมทำหน้าที่เป็นการลำเลียงอากาศ : มีหน้าที่นำอากาศจากภายนอกเข้าสู่ปอด เป็นทางผ่านเข้าออกของอากาศเท่านั้น ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนแก๊ส ได้แก่ จมูก, คอหอย, กล่องเสียง, หลอดคอ, หลอดลมใหญ่, หลอดลมฝอย และปลายหลอดลมฝอย
2. หน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส : เป็นบริเวณที่แลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สออกซิเจนกับเนื้อเยื่อ ได้แก่ หลอดลมฝอยแลกเปลี่ยนแก๊ส, ท่อลม, ถุงลม, ถุงลมเล็ก
กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ
กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจของมนุษย์ เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่รอบผนังทรวงอก โดยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากตามปกติแล้วปอดไม่ให้สามารถขยายขนาดเพื่อรับอากาศจากการหายใจได้เอง แต่จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยแรงของกล้ามเนื้อเหล่านี้เพื่อขยายผนังของทรวงอกให้กว้างมากขึ้น และเกิดการลดลงของความดันภายในทรวงอกมากพอจนทำให้อากาศจากภายนอกไหลเข้าสู่ปอดได้ โครงสร้างหลักของผนังทรวงอกได้แก่
1. ซี่โครง
2. กล้ามเนื้อที่ยึดระหว่างซี่โครง (intercostal muscles) ซึ่งมี 2 ชั้นคือ ชั้นนอก (External) ชั้นใน (Internal) และชั้นในสุด (innermost)
3. กล้ามเนื้อกระบังลม และปอด กับ ถุงลม
4. เนื้อเยื่อที่ห่อหุ้มด้านในของผนังทรวงอก เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด (Pleura) ซึ่งมีอยู่ 2 ชั้นคือ ชั้นนอก (Parietal pleura) และชั้นใน (Visceral pleura) กล้ามเนื้ออื่น ๆ ที่มีส่วนช่วยในกระบวนการหายใจ ได้แก่ กล้ามเนื้อท้อง กล้ามเนื้อรอบกระดูกหน้าอก กล้ามเนื้อบริเวณไหปลาร้าและต้นคอ (Sternocleidomastoid และ Scalenus)
กล้ามเนื้อยึดระหว่างซี่โครงชั้นนอก (External intercostal muscles) มีทั้งหมด 11 คู่ ซึ่งกล้ามเนื้อแต่ละมัด มีขอบเขตเริ่มจากบริเวณปุ่มกระดูกของซี่โครงจากทางด้านหลัง และสิ้นสุดที่รอยต่อระหว่างกระดูกซี่โครงกับกระดูกอ่อนของซี่โครงทางด้านหน้าโดยที่จุดสิ้นสุดส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อจะเปลี่ยนเป็นเยื่อหนา ๆ แทน ใยของกล้ามเนื้อมัดนี้จะมีลักษณะเฉียงจากทางด้านหลังมาด้านหน้า และจากบนลงล่าง โดยกล้ามเนื้อมีจุดยึดเกาะเริ่มต้นที่บริเวณขอบล่างของกระดูกซี่โครงชิ้นบน และเฉียงลงทางด้านหน้ามาเกาะยึดสิ้นสุดที่บริเวณขอบบนของกระดูกซี่โครงช้นล่าง สำหรับกล้ามเนื้อมัดล่าง ๆ ของทรวงอก ซึ่งอยู่ติดกับผนังช่องท้อง กล้ามเนื้อนี้จะเชื่อมต่อเป็นเนื้อเดียวกับกล้ามเนื้อผนังช่องท้องชั้นนอก (External oblique) กล้ามเนื้อนี้จะทำงานโดยการหดตัวในระยะที่มีการหายใจเข้า
กล้ามเนื้อยึดระหว่างชี่โครงชั้นใน (Internal intercostal muscles) มีทั้งหมด 11 คู่เช่นกัน กล้ามเนื้อกลุ่มนี้อยู่ชั้นลึกใต้กล้ามเนื้อชั้นนอก และมีแนวกล้ามเนื้อตั้งฉากกับกล้ามเนื้อชั้นนอก โดยมีแนวการเกาะยึดจากร่องของกระดูกซี่โครงชิ้นบน เฉียงลงทางด้านหลังมาเกาะยึดอยู่ที่บริเวณขอบบนของกระดูกซี่โครงชิ้นล่าง
ปริมาตรอากาศที่ใช้หายใจจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาขึ้นกับความลึกของการหายใจหรืออัตราการหายใจ ในกรณีการหายใจปกติปริมาตรอากาศที่ใช้หายใจจะมีน้อยกว่าปริมาตรอากาศที่ร่างกายใช้ในกิจกรรมต่างๆ โดยสามารถแบ่งอากาศที่ใช้หายใจออกได้ดังนี้
1. tidal air หรือ tidal volume (TV) หมายถึงปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าและออกในแต่ละครั้งสำหรับการหายใจปกติ ค่า tidal volume มีความจำเป็นต่อความต้องการอากาศในสัตว์แต่ละชนิดเช่น ในม้ามีค่าtidal volume เท่ากับ 6,000 ซีซี/ครั้ง แกะ 300-310 ซีซี/ครั้ง โค 3,100 ซีซี/ครั้ง ขณะนอน 3,600 ซีซี/ครั้งเมื่อยืน
2. inspiratory reserve volume (IRV) คือปริมาตรอากาศที่มากที่สุดที่สัตว์สามารถหายใจเข้าได้หลังจากการหายใจเข้าปกติ หรือปริมาตรอากาศที่สัตว์สามารถหายใจเข้าได้เต็มที่หลังจากที่หายใจเข้าปกติแล้ว
3. expiratory reserve volume (ERV) หมายถึงปริมาตรอากาศที่หายใจออกเต็มที่หลังจากหายใจออกปกติ
4. residual air หรือ air volume หมายถึงปริมาตรอากาศที่มีความสำคัญต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซในปอด จะเป็นปริมาตรอากาศที่เหลืออยู่ในถุงลมขณะที่มีการหายใจออกเต็มที่
ค่าความจุของปอด (lung capacity)
ค่าความจุของปอดที่สำคัญได้แก่ vital capacity, total lung capacity, inspiratory capacity เป็นต้น
1. vital capacity หมายถึงปริมาตรอากาศที่มากที่สุดของการหายใจเข้าหรือการหายใจออกหลังจากที่มีการหายใจเข้าหรือออกกว่าปกติ
2. total lung capacity หมายถึง ปริมาตรอากาศทั้งหมดในปอดหลังจากการหายใจเข้าอย่างเต็มที่
3. inspiratory capacity หมายถึง ปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าเต็มที่หลังจากการหายใจออกอย่างปกติค่า dead space หมายถึงปริมาตรอากาศในท่อทางเดินหายใจที่ไม่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างถุงลมปอดกับเลือด เป็นค่าที่ค่อนข้างคงที่ ค่า dead space แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. anatomical dead space หมายถึงจำนวนหรือปริมาตรของอากาศในท่อทางเดินหายใจที่ ไม่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซเกิดขึ้น
2. physiological dead space หรือ total dead space หมายถึงปริมาตรของอากาศทั้งหมดที่อยู่ในระบบหายใจ ซึ่งไม่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซ ในสภาพปกติจะมีค่าใกล้เคียงกับ anatomical dead space
https://th.wikipedia.org/wiki/ระบบหายใจ
https://sites.google.com/site/kanhaijai/home-page/primatr-xakas-thi-chi-hayci
|