1. เพื่อให้นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อมในหัวข้อต่อไปนี้ โดยศึกษาถึงสาเหตุการเกิดผลกระทบ และแนวทางการป้องกัน จากนั้นทำข้อมูลที่ ได้มาอภิปรายร่วมกัน ผลการทดลองที่ได้ คือ
โอโซนส่วนใหญ่อยู่ในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์สูงจากพื้นผิวโลกขึ้นไป 12-50 กิโลเมตรเมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์ส่องมายังผิวโลก รังสีส่วนหนึ่งจะเป็นรังสีคลื่นสั้นหรือรังสีอัลตราไวโอเลตจะถูกโอโซนดูดกลืนไว้ และบางส่วนจะถูกสะท้อนกลับหรือกระจายไปในบรรยากาศ โอโซนจึงทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้รังสีอัลตราไวโอเลตส่องลงมาบนผิวโลก ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อพืชและสัตว์ได้หากปราศจากโอโซนแล้วสิ่งมีชีวิตบนโลกจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ โอโซนประกอบด้วยออกซิเจน 3อะตอม ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ คือ แสงอาทิตย์ที่มีรังสี อัลตราไวโอเลตที่ช่วงคลื่น 180-240 นาโนเมตร เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้โมเลกุลของออกซิเจน (O2) แตกออกเป็นอะตอมออกซิเจน (O)แล้วไปรวมตัวกับโมเลกุลของออกซิเจนได้เป็นโอโซน (O3) ดังสมการ บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ที่มีความสูง 20-25 กิโลเมตร เป็นช่วงที่มีโอโซนหนาแน่นมากที่สุด ข้อดีของโอโซน มนุษย์นำโอโซนมาใช้ประโยชน์ดังนี้ ผลกระทบจากโอโซนในบรรยากาศมีปริมาณลดลง 1. ผลกระทบต่อมนุษย์ ทำให้ตาเป็นต้อ ตาพร่ามัว เป็นมะเร็งที่ผิวหนัง ผิวหน้าเหี่ยวย่นก่อนวัยผิวหนังไหม้เกรียม เนื่องจากได้รับรังสี UV ที่ส่องผ่านจากดวงอาทิตย์ผ่านช่องโหว่ของโอโซนมาสู่มนุษย์
บรรยากาศของโลก ซึ่งประกอบด้วยก๊าซชนิดต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจน โดยรวมปริมาณร้อยละ 99 ที่เหลืออีกร้อยละ 1 จะเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทนและก๊าซอื่น ๆ รวมทั้งไอน้ำและฝุ่นละออง ก๊าซที่เหลือเพียงร้อยละ 1 นี้เองที่มีความสำคัญ เนื่องจากเปรียบเสมือนกับก๊าซเรือนกระจกเมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์ส่องมายังผิวโลก รังสีอัลตราไวโอเลต จะถูกดูดกลืนในชั้นของโอโซนและบางส่วนจะสะท้อนกลับไปในบรรยากาศ และพบว่ารังสีที่ส่องมาถึงผิวโลกนี้บางส่วนจะถูกนำไปใช้ และบางส่วนจะถูกก๊าซอื่น ๆ หรือก๊าซเรือนกระจกดูดกลืนไว้ แล้วสะท้อนกลับออกไปในรูปของรังสีอินฟาเรดหรือความร้อน ทำให้โลกอุ่นขึ้นเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าปรากฏการณ์เรือนกระจก ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ ได้แก่ 1. คาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซนี้ไม่มีกลิ่น ดูดซับความร้อนได้ดี ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิดเช่น โซดา น้ำอัดลม การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลในยานพาหนะและโรงงานอุตสาหกรรม การเผาป่าไม้ทำให้เกิดก๊าซ CO2 ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกถึงร้อยละ 57 ผลกระทบจากปรากฏการณ์เรือนกระจก 1. ผลกระทบต่อภูมิอากาศ เช่น พายุไต้ฝุ่น น้ำท่วม การพังทลายของดิน ดินเสื่อมคุณภาพเกิดฝนทิ้งช่วงยาวนานมาก เกิดความแห้งแล้ง มาตรการป้องกันผลกระทบปรากฏการณ์เรือนกระจก 1. ส่งเสริมการสงวนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
การเกิดฝนกรด เกิดจากในบรรยากาศมีออกไซด์ของไนโตรเจนและกำมะถันปนเปื้อนก๊าซที่ปนเปื้อนนี้ จัดเป็นมลพิษทางอากาศ ที่มนุษย์สร้างขึ้น จากยานพาหนะและโรงงานอุตสาหกรรมก๊าซเหล่านี้จะละลายปนอยู่กับไอน้ำของบรรยากาศ และถูกออกซิไดซ์เป็นกรดไนตริก และกรดกำมะถันในที่สุด โดยทั่วไปน้ำฝนจะมีค่า pHประมาณ 5.6 ซึ่งสภาพกรดของน้ำฝนมาจากกรดคาร์บอนิกที่เกิดจากก๊าซ CO2 ที่มีอยู่แล้วในบรรยากาศ แต่ฝนที่เกิดจากกรดไนตริกและกรดกำมะถันอาจมีค่า pH ต่ำถึง 4.0 ในกรณีที่มีละอองหมอกหนาทึบบางครั้งอาจพบค่า pH ได้ถึง 2.0 1. ผลกระทบต่อระบบนิเวศในน้ำ ทำให้ค่า pH ในน้ำต่ำ ถ้า pH ต่ำกว่า 5 จะทำให้สัตว์น้ำไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ แนวทางการแก้ไข 1. ลดกิจกรรมที่จะทำให้เกิดก๊าซ SO2 และ NOx
เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก แถบเส้นศูนย์สูตรบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปของอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ไป จนถึงฝั่งตะวันออกของทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ มีหลักฐานว่าปรากฏการณ์นี้ได้เกิดมานานนับพันปีมาแล้ว และเป็นปรากฏการณ์ที่แสดง ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกระแสลมในบรรยากาศและกระแสน้ำในมหาสมุทร โดยปกติแล้วนอกฝั่งทวีปอเมริกาใต้ และอเมริกากลางจะมีกระแสน้ำเย็นฮัมโบลท์ (Humboldt Current) ซึ่งมีผลต่อสภาพภูมิอากาศบริเวณนี้ โดยจะทำให้อากาศแห้งแล้ง และเย็นเกิดขึ้นบริเวณตอนใต้ของประเทศเอกวาดอร์ เปรู และตอนเหนือของชิลี รวมทั้งมีผลให้กระแสน้ำในมหาสมุทร มีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณเส้นศูนย์สูตรหรือบริเวณอื่นถึง 5.5 องศาเซลเซียส ในปีที่ไม่เกิดเอลนิโญนั้น ลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรง และพัดไปทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก (พัดไปทางออสเตรเลีย) และเมื่อผสม กับแรงบิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก หรือแรงโคริออลิส (Coriolis force) ทำให้กระแสลมเหนือเส้นศูนย์สูตรเคลื่อนบิดไปทางขวามือ และกระแสลมใต้เส้นศูนย์สูตรเคลื่อนบิดไปทางซ้ายมือ เป็นผลให้พัดพากระแสน้ำอุ่นที่ผิวหน้ามหาสมุทรบริเวณ นอกชายฝั่งเปรูเคลื่อนที่ห่าง จากฝั่งไปทางตะวันตก (ออสเตรเลีย) กระแสน้ำเย็นที่อยู่ลึกลงไปด้านล่าง (เพราะน้ำเย็นหนักกว่าน้ำอุ่น) จึงหมุนวนขึ้นมา แทนที่น้ำอุ่นที่ผิวน้ำ เรียกว่าเกิด "Upwelling" พร้อมกับนำธาตุอาหารจากก้นทะเลขึ้นมาสู่ผิวน้ำ ทำให้มีการเจริญของแพลงก์ตอนอย่างสมบูรณ์ และทำให้มีปลา โดยเฉพาะปลาแองโชวีอุดมสมบูรณ์มาก เปรูจึงเป็นประเทศที่จับปลาแองโชวีสูงที่สุดในโลก โดยเฉพาะในช่วงต้นคริสตศักราช 1970 ดังนั้นเอลนิโญ คือปรากฏการณ์กระแสน้ำอุ่นพัดมาแทนที่กระแสน้ำเย็นในมหาสมุทรแปซิฟิก แถบเส้นศูนย์สูตรบริเวณ นอกชายฝั่งอเมริกาใต้ และมักเกิดในช่วงคริสต์มาส ในช่วงศตวรรษที่ 1890ได้เกิดปรากฏการณ์เอลนิโญขึ้น ชาวประมงเปรู จึงเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "Corriente del Nino" (Current of the Christ child) ซึ่งหมายถึง "กระแสน้ำแห่งพระกุมารเยซู" เพราะเกิดในช่วงคริสต์มาส ซึ่งเป็นเทศกาลฉลองวันประสูติของพระเยซูคริสต์ โดยจะใช้คำว่า El Nino ซึ่งหมายถึงเด็กชายในภาษาสเปน การเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญมักเกิดร่วมกับภาวะอากาศแปรปรวนทางใต้ ปัจจุบันจึงมักเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "เอ็นโซ" ซึ่งมาจากการรวมคำย่อของ El Nino = EN และ Southern Oscillation = SO กลายเป็น "ENSO" ส่วนปรากฏการณ์ ลานิญา นั้นเป็นปรากฏการณ์ตรงข้ามกับเอลนิโญ เกิดจากอุณหภูมิผิวน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ในช่วงตอนกลางและตะวันออก (อเมริกาใต้) มีค่าต่ำกว่าปกติทั้งนี้เนื่องจากลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดอยู่เป็นประจำในแปซิฟิกเขตร้อนทางซีกใต้ มีกำลังแรงกว่าปกติ จึงพัดพาน้ำทะเลอุ่นจากผิวหน้าของแปซิฟิกตะวันออก (บริเวณเอกวาดอร์ เปรู ชิลี) ไปสะสมทางแปซิฟิกตะวันตก (ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย) มากขึ้น บริเวณชายฝั่งอเมริกาใต้จึงเกิดกระเสน้ำเย็นและเกิดการหมุนเวียนมวลน้ำเย็นจากมหาสมุทรจากที่ลึกขึ้นมาสู่ผิวน้ำ ทำให้บริเวณฝั่ง อเมริกาใต้แถบประเทศเอกวาดอร์ เปรู ชิลี มีอากาศหนาวเย็นมีความแห้งแล้งเพิ่มขึ้น ส่วนฝั่งตรงข้าม คือแปซิฟิกตะวันตกบริเวณออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และเอเชียฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ มีความชุ่มชื้นมากขึ้นและเนื่องจากลานิญา เป็นปรากฏการณ์ตรงข้ามกับเอลนิโญ จึงตั้งชื่อว่า "La Nina" ซึ่งหมายถึงเด็กหญิง สรุปได้ว่า อากาศเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการ และหาแนวทาง ในการป้องกันและแก้ไข เพื่อควบคุมคุณภาพอากาศให้อยู่ในสภาพที่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน แต่ปัจจุบันปัญหาเรื่องมลพิษทางอากาศ จะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวและความเจริญของเมือง จำเป็นต้องป้องกันแกไข และควบคุมโดยตรง
|