<< Go Back

สารคลอโรฟูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon; CFC)
สาร CFC มีผลเสียมากกว่าผลดีต่อสิ่งแวดล้อม สารคลอโรฟูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon; CFC) เป็นกลุ่มของสารเคมีสังเคราะห์ที่มีคลอรีนผสมอยู่ ซึ่งใช้ทางอุตสาหกรรมหลายอย่าง สารเหล่านี้ไม่ค่อยจะทำปฏิกิริยาและใช้กับตู้เย็น (เป็นตัวทำละลายที่ใช้ทำความสะอาด) และถังดับไฟ แม้ดูเหมือนว่ามันมีประโยชน์ แต่คุณสมบัติที่ไม่ค่อยทำปฏิกิริยา ของมันมีบทบาทในการทำลายชั้นโอโซน (ozone layer) ของโลกเรา ชั้นโอโซน (ozone layer) อยู่ในชั้นบรรยากาศที่ชื่อว่า สตราโตสเฟียร์ (stratosphere) ซึ่งมีความสูงอยู่ระหว่าง 15-40 กิโลเมตร (9.3-25 ไมล์) ชั้นโอโซนเป็นตัวกรองรังสีอัลตร้าไวโอเลต (ultraviolet, UV) ที่มีอันตรายต่อเซลล์ แม้ว่ายิ่งมันอยู่สูงมากขึ้น แต่ชั้นบรรยากาศ สตราโตสเฟียร์มักจะอุ่นขึ้น และมีความหนาแน่นน้อยกว่าชั้น บรรยากาศที่อยู่ต่ำกว่า อากาศและสารเคมีต่างๆ จะผสมกันอย่างช้าๆ จากชั้นที่อยู่ต่ำไปยังชั้น (สตราโตสเฟียร์) ที่อยู่สูงขึ้นไป
คลอรีนตามธรรมชาติมักจะอยู่ในรูปที่สามารถทำปฏิกิริยาและสามารถละลายได้ในชั้นสตราโตสเฟียร์ที่อยู่ต่ำๆ และถูกน้ำฝนชะล้างได้ง่ายอีกด้วย แต่ถ้าคลอรีนอยู่ในชั้นสตราโตสเฟียร์ มันจะทำปฏิกิริยากับโอโซนอีกแบบหนึ่งคือ มันจะทำลายโมเลกุลของโอโซน หลังจากนั้นคลอรีนจะถูกปลดปล่อยออกมา และสามารถกลับมาทำปฏิกิริยากับโมเลกุล โอโซนโมเลกุลใหม่ได้อีกครั้ง ด้วยวิธีนี้ คลอรีนทำตัวเป็นสารเร่งปฏิกิริยา โดยคลอรีนจะร่วมทำปฏิกิริยาและเพิ่มความเร็วของปฏิกิริยา ทำลายชั้นโอโซนนั่นเอง จากการคำนวณพบว่า โมเลกุลคลอรีนที่พร้อมทำปฏิริกิยาหนึ่งโมเลกุลสามารถทำลายโมเลกุลโอโซนได้ถึง 10,000 โมเลกุลก่อนที่มันถูกปลดปล่อยออกจากชั้นสตราโตสเฟียร์ รูโหว่ในชั้นโอโซน (ozone hole) เหนือทวีปแอนตาร์กติกา (Antartica) บริเวณขั้วโลกใต้ส่วนใหญ่เกิดมาจากคลอรีนที่พร้อมทำปฏิกิริยาและธาตุโบรมีน (bromine)เนื่องจากสาร CFC เป็นสารที่ไม่ชอบทำปฏิกิริยา (เป็นคุณสมบัติที่เหมาะสมอย่างมากในการใช้เป็นสารเคมีทางด้านอุตสาหกรรม) มันจึงสามารถล่องลอยขึ้นไป ยังชั้นบรรยากาศ สตราโตสเฟียร์โดยที่โมเลกุลไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่เหมือนกับสารประกอบคลอรีนทั่วไป ในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ การแผ่รังสี UV จะมีมาก ซึ่งมีผลทำให้โมเลกุลของสาร CFC แตกออกกลายเป็นคลอรีนภายในโอโซน ซึ่งมีอันตรายมากที่สุด
การใช้สาร CFC มีความเกี่ยวข้องกับการทำลายชั้นโอโซนอย่างเด่นชัด และประเทศต่างๆ ได้ร่วมทำสนธิสัญญาต่างๆ ในการลดการใช้สารนี้ เพื่อรักษาชั้นโอโซนที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติ การแทนที่การใช้ CFC มีหลายรูปแบบคือ ในตู้เย็น มีการพัฒนาสาร HCFC ซึ่งมีโฮโดรเจนร่วมอยู่ด้วย ซึ่งสารนี้จะแตกตัวทันทีในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ด้านล่าง และทำให้คลอรีนลอยขึ้นไป ยังชั้นโอโซนน้อยลง สำหรับการทำความสะอาดในตู้เย็น ในปัจจุบันได้มีหลายกระบวนการที่ใช้ supercritical carbon dioxide หรือตัวทำละลายที่มีกรดซิตริกเป็นหลัก ซึ่งไม่มีอันตรายต่อชั้นโอโซน เราพบว่ามีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยเมื่อมีการลดปริมาณการใช้สาร CFC ลง ข้อโต้แย้งในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับการใช้ยาฆ่าแมลงที่มีเมธิลโบรไมด์ (methyl bromide) ซึ่งมีการใช้ตามพื้นที่เพาะปลูกต่างๆ แต่ปริมาณการใช้ก็เริ่มลดลงแล้ว โบรมีน (bromine) ที่ถูกปลดปล่อยมาจากสารเมธิลโบรไมด์นั้นสามารถเพิ่มความเสียหายของชั้นโอโซน ได้ด้วยวิธีที่คล้ายคลึงกับคลอรีน หลายประเทศจึงมีการรนณรงค์เปลี่ยนแปลงการใช้สารเหล่านี้ขึ้น


https://informationscience.wordpress.com/2007/09/14/บัว/

    << Go Back