1. เพื่อให้นักเรียนสามารถเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์และจำแนกชนิดของจุลินทรีย์ได้ 1. ฟางข้าว จอก แหน ผักตบชวา หรือหญ้า อย่างใดอย่างหนึ่ง ประมาณ 1 กำมือ 1. นำวัสดุ เช่น ฟางข้าวแห้ง จอก ผักตบชวา หรือหญ้า อย่างใดอย่างหนึ่งมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ลงไปในบิ๊กเกอร์ประมาณ 1 ใน 5 ส่วน วันเริ่มต้น นำน้ำต้มฟางที่ทิ้งไว้ให้เย็นมาส่องดู จะไม่พบสิ่งมีชีวิตใด ๆ อยู่เลย วันที่ 3-4 พบอะมีบาและมีพวกไดอะตอมเกิดขึ้น วันที่ 5 อะมีบาหายไป ยังพบไดอะตอม และพบสิ่งมีชีวิตกลุ่ม ciliate แทนที่ เช่น วันที่ 6 พบพวก ciliate บางชนิดเกิดขึ้น เช่น วันที่ 7 พบ ciliate ชนิด Vorticella campanule และพารามีเซียมจำนวนมากขึ้นมาแทนที่ มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ โดยในระยะแรกจะมีพวกอะมีบาจำนวนมากหลังจากนั้นจะเกิดสิ่งมีชีวิตกลุ่ม ciliate พวกแรกขึ้นมาซึ่งกินอะมีบาเป็นอาหาร เมื่ออะมีบาหมดก็มีกลุ่มสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหม่ เช่น โรติเฟอร์ (rotifer) ขึ้นมากิน ciliate กลุ่มนั้นแทนที่ไปเรื่อย ๆ ซึ่งสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดสามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ไม่เหมือนกัน สรุปได้ว่า การเจริญเติบโต การดำรงชีวิต การขยายพันธุ์และการทนต่อสภาพแวดล้อมของจุลินทรีย์แต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสิ่งมีชีวิตในห้องปฏิบัติการนั่นเอง
|