<< Go Back

ลักษณะของอะมีบา
เป็นสัตว์เซลล์เดียว มีขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต้องมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ ส่องดูจึงจะมองเห็น อะมีบาชนิดที่ใหญ่ที่สุดมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร แต่ส่วนใหญ่จะเล็กกว่านั้น ถ้าอะมีบาชนิดที่ใหญ่ๆ เมื่ออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ก็อาจจะมองเห็นด้วยตาเปล่าเป็นจุดเล็กๆ และเป็นสัตว์เซลล์เดียวที่เปลี่ยนรูปร่างอยู่เสมอ อะมีบาไม่มีอวัยวะสำหรับหายใจ ดังนั้น มันจึงหายใจโดยใช้ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำซึมผ่านผนังเซลล์เข้าไปภายในเซลล์โดยตรง ออกซิเจนเข้าไปเผาผลาญอาหารทำให้เกิดพลังงานขึ้นมา ส่วนคาร์บอนไดออกไซด์ละลายออกกับน้ำเสียซึมออกจากเซลล์ทางผนังเซลล์โดยตรง
อะมีบาเป็นสัตว์ที่ไม่มีระบบประสาทเหมือนกับสัตว์ชั้นสูง แต่อะมีบาก็มีความรู้สึกต่อสิ่งแวดล้อมได้ เช่น รู้จักเลือกอาหาร รู้จักหลบหลีกภัย หรือหลบหลีกแสงที่จัดเกินไป หลบความร้อนและความเย็นที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของมัน ลักษณะที่สำคัญของอะมีบาคือ เป็นสัตว์ที่มีผนังเซลล์ที่บางมากๆหุ้มอยู่ข้างนอกถัดจากผนังเซลล์เข้าไปเป็นโปรโตพลาสซึม แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ
1. เอคโตพลาสซึม (ectoplasm) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เนื้อชั้นนอก เป็นชั้นบางๆ ใสๆ สามารถยืดและหดได้
2. เอนโดพสาสซึม (endoplasm) หรือที่เรียกว่า เนื้อชั้นใน มีลักษณะเป็นของเหลวข้นๆ เป็นจุดๆ อยู่ทั่วไป
ภายในเอนโดพลาสซึม (endoplasm) ประกอบด้วย
นิวเคลียส (nucleus) เป็นอวัยวะสำคัญที่สุดของอะมีบา ซึ่งเปรียบได้กับหัวใจของมนุษย์ ถ้าไม่มีนิวเคลียสอะมีบาจะไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ และจะไม่เจริญเติบโต และก็ไม่ตาย อะมีบามีนิวเคลียส 1 เม็ด มีลักษณะค่อนข้างแบน นิวเคลียสนี้จะมีสีเข้มกว่าส่วนอื่น
ฟูด แวคิวโอล (food vacuole) หรือช่องอาหารเป็นช่องที่มีน้ำย่อยอาหารอยู่ ภายในช่องมีอาหารของอะมีบา เช่น สาหร่ายกับบักเตรี หรือสัตว์เซลล์เดียวชนิดอื่นๆ บางชนิดที่เป็นอาหารของมัน
คอนแทรกไทล์แวคิวโอล (contractile vacuole) หรือช่องขับถ่ายของเหลว เพื่อควบคุมแรงดันออสโมซีสภายในตัวไม่ให้สูงเกินไป


 

https://sites.google.com/site/biologyamoebathailand/thakhwam-rucak-kab-xamiba/say-phanthu-thi-phb

    << Go Back