<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารสืบค้นข้อมูล และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิเวศต่างๆ
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถอภิปรายและนำเสนอข้อมูล


1. ลวดหนีบกระดาษ

2. ไม้บรรทัด

1. ให้ผู้ถูกทดลองหลับตา แล้วผู้ทดลองใช้ปลายลวดหนีบกระดาษ ซึ่งกางห่างกันพอสมควร แตะลงบนผิวหนังของผู้ถูกทดลอง โดยแตะด้วยปลายข้างเดียวบ้าง และแตะทั้งสองปลายบ้างให้ผู้ถูกทดลองบอกว่าถูกแตะด้วยปลายลวดกี่ข้าง
2. ปรับปลายลวดทั้ง 2 ข้างให้ชิดเข้ามาเป็นระยะๆ แล้วทดลองซ้ำตามข้อ 1 เรื่อยๆ จนกระทั่งผู้ถูกทอดลองไม่สามารถบอกความแตกต่างระหว่างแตะด้วยปลายลวด 1 ปลายและ 2 ปลายได้ วัดความห่างของปลายลวดในขณะนั้น แล้วบันทึกไว้ในตาราง
3. ลองทำเช่นเดียวกันตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย เช่น บริเวณต้นคอ ปลายนิ้ว แขน

ผลการทดลองที่ได้

ความไวในการรับสัมผัสโดยการแตะต้อง จะพบว่ามีจุดสัมผัสที่ห่างกันเพียงเล็กน้อยผู้ถูกทดลองสามารถบอกได้ว่าจุดสัมผัสมีสองจุด แต่บางแห่งแม้ว่าจะมีจุดสัมผัสที่ห่างกันมาก ผู้ถูกทดลองก็ไม่สามารถจะบอกได้ว่าเป็นสองจุด ทั้งนี้เพราะบริเวณต่างๆ ของร่างกายมีจำนวนปลายประสาทแตกต่างกัน เช่น บริเวณปลายลิ้น ปลายนิ้ว มีจำนวนปลายประสาทรับสัมผัสมากบริเวณหลังต้นคอมีจำนวนปลายประสาทรับสัมผัสน้อย

สรุปผลการทดลองได้ว่าบริเวณต่างๆ ของผิวหนังในร่างกายจะมีปลายประสาทอยู่ไม่เท่ากัน บริเวณที่มีความละเอียดอ่อนน้อยก็จะมีปลายประสาทอยู่น้อย ส่วนบริเวณที่มีความละเอียดอ่อนมากก็จะมีปลายประสาทอยู่มาก

    << Go Back