<< Go Back

ผิวหนัง คือ สิ่งปกคลุมชั้นนอกที่อ่อนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สิ่งปกคลุมสัตว์อื่น เช่น โครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์ขาปล้องมีจุดกำเนิดการเจริญ โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีต่างออกไป ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังเป็นอวัยวะใหญ่สุดของระบบผิวหนัง ซึ่งประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์มหลายชั้น และป้องกันกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและอวัยวะภายในที่อยู่ข้างใต้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีขนที่ผิวหนังด้วย ผิวหนังเป็นส่วนที่เปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นด่านป้องกันด่านแรกจากปัจจัยภายนอก ตัวอย่างเช่น ผิวหนังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกายจากจุลชีพก่อโรค และการสูญเสียน้ำมากเกินไป หน้าที่อื่น คือ เป็นฉนวน ควบคุมอุณหภูมิ รับความรู้สึกและผลิตโฟเลตวิตามินดี ผิวหนังที่เสียหายรุนแรงอาจหายโดยเกิดเนื้อเยื่อแผลเป็น บางครั้ง ผิวหนังอาจเปลี่ยนสีและเกิดเป็นรอยด่างขาวได้ ความหนาของผิวหนังแตกต่างกันไปตามตำแหน่งของสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างเช่น ในมนุษย์ ผิวหนังใต้ตาและรอบหนังตาเป็นผิวหนังที่บางที่สุดในร่างกาย โดยหนา 0.5 มิลลิเมตร และเป็นบริเวณแรก ๆ ที่แสดงสัญญาณการเปลี่ยนตามวัย เช่น "รอยตีนกา" และรอยเหี่ยวย่น ผิวหนังบนฝ่ามือและฝ่าเท้าหนา 4 มิลลิเมตรและเป็นผิวหนังที่หนาที่สุดในร่างกาย ความเร็วและคุณภาพของการสมานแผลในผิวหนังได้รับการสนับสนุนจากการรับเอสโตรเจน

ผิวหนัง
แผนภาพผิวหนังมนุษย์
รายละเอียด
ภาษาละติน Cutis
การระบุ
TA A16.0.00.002
FMA 7163
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

1. ควบคุมอุณหภูมิ
ระบบผิวหนังจะควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่อยู่ที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส หรือ 98.6 องศาฟาเรนไฮต์ (Temperature regulation) โดยในเวลาที่อากาศร้อนอบอ้าว เป็นไข้ หรือ ทำงานหนัก รูพรุนของต่อมเหงื่อบนผิวหนังจะเปิดให้ระบายเหงื่อออกมาภายนอก เพื่อให้ร่างกายรู้สึกเย็น และเมื่อเวลาอากาศเย็น ผิวหนังจะมีฉนวนป้องกันความร้อนไว้ในร่างกายเพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ความร้อนที่ถูกขับออกทางผิวหนังนั้นมีปริมาณถึง 85% ของความร้อนที่ขับออกมาจากร่างกายทั้งหมด โดยระบบการควบคุมอุณหภูมิของผิวหนังนั้น อาศัยการขยายตัวและการหดตัวของเส้นโลหิตบริเวณใกล้ผิวตามสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

2. รับความรู้สึก
ผิวหนังทำหน้าที่รับความรู้สึก แล้วรายงานไปยังสมอง เพื่อให้สมองสั่งการให้ร่างกายตอบสนองต่อ ความร้อน ความเย็น ภาวะกดดัน การสัมผัส และ ความเจ็บปวด (Sensory receptor) ผิวหนังเป็นส่วนที่อุดมไปด้วยปลายประสาทมากมาย สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมกับร่างกายได้ตลอดเวลา Sensory receptor ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานต่าง ๆ ให้เป็น action potential ซึ่งส่งต่อไปตาม nerve fiber โดยปกติ receptor จะเจาะจงต่อรูปของพลังงานที่มากระตุ้น เช่น Krause end-bulb เป็น receptor ที่รับความรู้สึกเย็น ถ้าเอาแรงกดมากระตุ้นจะไม่ตอบสนอง หรือ ไม่เกิด action potential

3. ขับถ่ายของเสีย (Excretion)
ผิวหนังจะขับของเสีย และ สารจำพวกเกลือแร่ที่เกินจากความต้องการของร่างกาย ออกจากร่างกาย ในรูปของเหงื่อ ทางต่อมเหงื่อ โดยในเหงื่อที่ขับออกมา จะประกอบไปด้วย ของเสียจำพวกยูเรีย ซึ่งมีไนโตรเจนในกระบวนการเผาผลาญพลังงาน การขับถ่ายของเสีย เช่น ยูเรีย จะขึ้นอยู่กับอัตราการหลั่งเหงื่อ (Sweat Rate) หากอัตราการหลั่งเหงื่อช้า ระดับยูเรียจะสูงในเหงื่อ แต่หากอัตราการหลั่งเหงื่อเร็ว ระดับยูเรียจะต่ำ ในสภาวะที่มีอาการกลัว ตื่นเต้น หรือตกใจ ร่างกายจะมีการขับเหงื่อมากกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังส่วน ฝ่ามือฝ่าเท้า รักแร้ หน้าผาก ซึ่งการหลั่งเหงื่อประเภทนี้จะหายไปเมื่อเรานอนหลับ ผิดกับการหลั่งเหงื่อระบายความร้อน ซึ่งแม้จะหลับแล้ว ก็ยังคงทำงานอยู่ตลอด

4. สังเคราะห์สารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย (Synthesis)
ผิวหนังป้องกันรังสี UV จากแสงแดด โดยควบคุมปริมาณให้ผ่านเข้าไปได้เล็กน้อย เพื่อนำไปสังเคราะห์สารเคมีประเภทวิตามินดี 3 (เปลี่ยน 7-dehydrocholesterol เป็น cholecalciferol) ซึ่งวิตามินดี 3 นี้ มีความจำเป็นต่อระบบกระดูก และช่วยให้ฟันแข็งแรง
อย่างไรก็ตามหากเราได้รับ UV มากเกินไป ก็อาจเป็นอันตรายต่อผิวหนังได้ โดยรังสี UV ในช่วง 10.00 – 15.00 เป็นช่วงที่อันตรายและควรหลีกเลี่ยง

5. ดูดซึมสารบางชนิด
ผิวหนังทำหน้าที่ดูดซึมสารบางชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รวมถึงดูดซึมยา ประเภทยาทา เข้าสู่ร่างกาย

6. ควบคุมเมตาบอลิซึม (Metabolism)
ผิวหนังทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซึม หรือ กระบวนการเผาผลาญสารอาหาร เพื่อให้ได้พลังงานมาใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต

7. หลั่งสารประเภทไขมัน
ผิวหนังขับไขมันออกมาทางต่อมไขมัน เพื่อหล่อเลี้ยงให้เส้นผม และ ขนต่าง ๆ เงางาม

8. แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติของร่างกาย
หากร่างกายมีความผิดปกติต่าง ๆ จะสามารถแสดงให้เห็นจากผิวหนัง เช่น อาการหน้าแดงเมื่อเป็นลม ผิวหนังขึ้นผื่นแดงเมื่อแพ้ยา แพ้อาหาร หรือแพ้อากาศ เป็นต้น


 

https://th.wikipedia.org/wiki/ผิวหนัง
http://oknation.nationtv.tv/blog/Fai716TU70/2008/01/16/entry-7

    << Go Back