<< Go Back

1. เพื่อศึกษาอัตราการเต้นของหัวใจและชีพจร ในการทำกิจกรรมต่างๆ
2. ระบุปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจได้

ที่มาของภาพ : https://www.gotoknow.org/posts/372698

1. นาฬิกาจับเวลา

2. เชือกกระโดด

1. ใช้มือแตะหน้าอกด้านซ้ายของตนเองเพื่อสังเกตการเต้นของหัวใจ หรือแนบหูกับหน้าอกเพื่อน ใช้เวลา 30 วินาที นับจำนวนครั้งที่หัวใจเต้นและบันทึกผล
2. ใช้มือขวาจับข้อมือซ้ายเพื่อนับการเต้นของชีพจรภายใน 30 วินาที นับจำนวนครั้งที่หัวใจเต้น และบันทึกผล
3. ลุกนั่ง กระโดดเชือก และวิ่งติดต่อกันเป็นเวลา 3 นาที แล้วทำซ้ำข้อ 2

ตารางบันทึกการทดลอง

เพศ กิจกรรม จำนวนครั้งในการเต้นของชีพจร (ภายใน 30 วินาที)
  ก่อนออกกำลังกาย
หลังออกกำลังกาย
 

จากตารางบันทึกผลการทดลองพบว่าอัตราการเต้นของหัวใจและชีพจร ก่อนออกกำลังกาย มีค่าน้อยกว่าอัตราการเต้นของหัวใจและชีพจรหลังออกกำลังกาย เนื่องจากในขณะที่ออกกำลังกาย หัวใจจะบีบตัวและคลายตัวเร็วขึ้น เพื่อเร่งการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายให้เพียงพอ

ชีพจร คือ อาการเต้นของหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการขยายและคลายตัวของผนังหลอดเลือด สลับกันไปมา ทุกครั้งที่กล้ามเนื้อหัวใจหดตัวจะส่งให้เลือดพุ่งไปตามหลอดเลือดทั้งหมดในร่างกาย ซึ่งจะดันผนังหลอดเลือดให้ขยายตัวออก เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจคลายตัว ผนังหลอดเลือดก็จะกลับสู่สภาพเดิม เราจึงสามารถนับจังหวะการเต้นของหัวใจได้ โดยการจับชีพจรที่หลอดเลือดแดง บริเวณข้อมือ ข้อพับและลำคอ

ในภาวะปกติ อัตราการเต้นของชีพจรจะอยู่ระหว่าง 60 – 100 ครั้งต่อนาที และอัตราจะคงที่สม่ำเสมอ อัตราการเต้นของชีพจรจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำเพศและวัย

<< Go Back