<< Go Back

หลอดเลือดแดง หรือ เส้นเลือดแดง คือ หลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ โดยทั่วไปในหลอดเลือดแดงเกือบทุกหลอดเลือด จะเป็นที่อยู่ของเลือดแดง ซึ่งเลือดแดงคือเลือดที่มีออกซิเจนสูง และมีอาหารที่ร่างกายจะนำไปเลี้ยงเซลล์/เนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย ซึ่งการที่มีออกซิเจนสูง ทำให้เลือดมีสีแดงสด คนไทยจึงเรียกว่า "เลือดแดง"

ภาพหลอดเลือด
ที่มารูปภาพ : http://www.thaigoodview.com/node/97774?page=0,2

ระบบไหลเวียนโลหิต เป็นระบบที่สำคัญมากในการดำรงชีวิต หน้าที่โดยทั่วไปของระบบนี้คือการขนส่งออกซิเจน และสารอาหารไปยังเซลล์ต่างๆ รวมทั้งขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียออกจากเนื้อเยื่อ รักษา pH ให้เหมาะกับการดำรงชีวิต รวมถึงการขนส่งสาร โปรตีนอาทิฮีโมโกลบิน และเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน

มีผนังหนา โดยจะมีลักษณะเป็นชั้นกล้ามเนื้อที่หนาและยืดหยุ่น ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือเนื้อเยื่อด้านในสุดเป็นเนื้อเยื่อบุผิว ชั้นกลางเป็นเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อที่สามารถยืดหยุ่นได้ เนื้อเยื่อชั้นนอกเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ยืดหยุ่นได้ หลอดเลือดแดงมี 3 ขนาด เรียงจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ
1. เอออร์ตา(aorta) หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่สุด ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดแดงที่ถูกสูบฉีดออกจากหัวใจห้องล่างซ้ายโค้งไปทางด้านหลัง ทอดผ่านช่องอกและช่องท้อง ขนาดใหญ่สุดมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว
2. อาร์เทอรี(artery) หลอดเลือดแดง ทำหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยวส่วนต่างๆ ของร่างกาย หลอดเลือดมีผนังกล้ามเนื้อหนาเพื่อให้ทนต่อแรงดันเลือด
3. อาร์เทอริโอล(arteriole) หลอดเลือดแดงเล็ก ซึ่งสามารถจะขยายตัวหรือหดตัวได้ เพื่อบังคับการไหลของเลือด

โรคที่พบบ่อยของหลอดเลือดแดง คือ โรคท่อเลือดแดงแข็งและโรคหลอดเลือดอักเสบ และที่พบได้บ้าง คือ โรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง (Arterial aneurysm) และปานแดง (Hemangioma) (อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com ใน เกร็ด เรื่อง หลอดเลือด)

https://th.wikipedia.org/wiki/หลอดเลือดแดง
http://haamor.com/th/หลอดเลือดแดง/

<< Go Back