1. เพื่อให้นักเรียนสามารถสังเกต บันทึก และอธิบายเกี่ยวกับดาวฤกษ์ กลุ่มดาวฤกษ์ การเคลื่อนที่ปรากฏประจำวันของดาวฤกษ์ และกลุ่มดาวเทียบกับแผนที่ดาว
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูล และอธิบายการใช้กลุ่มดาวจระเข้ กลุ่มดาวอังคาร กลุ่มดาวเต่า บอกตำแหน่งดาวเหนือ ทิศเหนือ และฤดูกาล
1. แผนที่ดาว |
1 ชุด |
2. แบบจำลองครึ่งทรงกลมท้องฟ้า |
1 ชุด |
3. แอสโทรเลบ |
1 ชุด |
4. ปากกาเคมีแบบหมึกละลายน้ำ |
1 ด้าม |
|
|
แบบจำลองครึ่งทรงกลมท้องฟ้า |
ปากกาเคมีแบบหมึกละลายน้ำ |
|
|
แอสโทรเลบ |
แผนที่ดาว |
ให้สังเกตท้องฟ้าจริง และบันทึกตำแหน่งและลักษณะของกลุ่มดาวที่นักเรียนสนใจ แล้วจินตนาการรูปร่างของกลุ่มดาวนั้นว่ามีรูปร่างคล้ายสิ่งใด แล้วนำไปเปรียบเทียบกับแผนที่ดาว
ผลการทดลองที่ได้ คือ
- ดวงดาวและกลุ่มดาวต่างๆ ขึ้นทางทิศตะวันออก และเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตก
- ดาวเหนืออยู่สูงจากขอบฟ้า 15 องศา ไม่ปรากฏการขึ้นและตก
- ดาวดวงอื่นๆ มีการเคลื่อนที่ และรักษาระยะห่างจากดาวเหนือเท่าเดิม
- ดาวฤกษ์ที่สว่างมากที่สุดคือ ดาวซีรีอัส อยู่ในกลุ่มดาวสุนัขใหญ่ และดาวคาโนปัสในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือ ทั้งดาวซีรีอัส และดาวคาโนปัส เป็นดาวที่อยู่ในท้องฟ้าด้านตะวันออกเฉียงใต้
- กลุ่มดาวจากการจินตนาการมีรูปร่างต่างกัน
- กลุ่มดาวที่ใช้หาตำแหน่งดาวเหนือทิศเหนือ และบอกฤดูกาล คือ กลุ่มดาวจระเข้ กลุ่มดาวค้างคาว และกลุ่มดาวเต่า
สรุปได้ว่า
การเห็นดาวและกลุ่มดาวเคลื่อนที่ปรากฏบนท้องฟ้า เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลกจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก มีดาวเหนือเพียงดวงเดียวที่ไม่เคลื่อนที่ และมีกลุ่มดาวที่ใช้หาทิศเหนือได้ และผู้สังเกตอาจมีจินตนาการรูปร่างของกลุ่มดาวแตกต่างกันไป
|