<< Go Back

การหาทิศ ดาวที่เรานิยมใช้ในการหาทิศ คือ ดาวเหนือ (polaris) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือมากที่สุด อยู่ในกลุ่มดาวหมีเล็ก (ursa minor) ดาวเหนือจะอยู่คงที่ส่วนดาวอื่นจะโครจรไปรอบ ๆ ตามการหมุนรอบตัวเองของโลก ดังนั้นเราจึงใช้ดาวเหนือในการหาทิศ กล่าวคือ ถ้าหันหน้าไปทางดาวเหนือคือทิสเหนือด้านขวามือจะเป็นทิศตะวันออก ด้านซ้ายมือจะเป็นทิศตะวันตก และด้านหลังจะเป็นทิสใต้ ส่วนการหาทิศใต้ เราจะใช้กลุ่มดาวกางเขนใต้ในการหาทิศ คนไทยเรียกกลุ่มดาวกางเขนใต้ว่า ดาวว่าวปักเป้า โดยในฤดูร้อนจะเห็นกลุ่มดาวกางเขนใต้ในตอนดึก แต่ในฤดูฝนจะเห็นในตอนหัวค่ำ ดวงดาวล้างสุดของดาวกางเขนใต้จะชี้ไปทางทิศใต้

การบอกเวลา กลุ่มดาวที่บอกเวลาที่นิยมกันเป็นส่วนใหญ่คือ ดาวหมีใหญ่ (ursa major) เป็นกลุ่มดาวที่อยู่ในซีกโลกเหนือ กลุ่มดาวดังกล่าวนี้คนไทยจินตนาการเป็นรูปจระเข้ จึงเรียกว่า กลุ่มดาวจระเข้ ในตอนหัวค่ำเราจะเห็นด้านหัวของดาวจรเข้าขึ้นทางทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและเมื่อเวลา 24.00 น. ดาวกลุ่มนี้จะอยู่กลางท้องฟ้าโดยส่วนหัวจะชี้ไป ทางทิศเหนือ และเมื่อใกล้สว่างส่วนหัวจะค่อย ๆ ลับขอบฟ้าไปทางทิศตะวันตก เราจึงนิยมใช้กลุ่มดาวหมีใหญ่หรือกลุ่มดาวจระเข้ในการบอกเวาลา

กลุ่มดาวจักรราศี เป็นกลุ่มดาวฤกษ์ 12 กลุ่มที่เห็นปรากฏบนโลก เมื่อโลกเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตยื รอบละ 12 เดือน ผู้สังเกตจากโลกจึงมองเห็นคล้ายกับว่าดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวจักรราศี 12 กลุ่ม ในเวลา 12 เดือน ซึ่งเส้นทางเดินของดวงอาทิตย์นี้เรียกว่า สุริยวิถี

ดาวต่างๆ ที่เรามองเห็นบนท้องฟ้าเวลากลางคืนนั้น บางครั้งดูคล้ายกับว่าดาวเหล่านั้นอยู่ใกล้ๆ กัน แต่ในความเป็นตริงดาวต่างๆ นั้นอยู่ห่างไกลกันมาก เช่น ดาวอัลนิทาดและดาวอัลนิลัม ในกลุ่มดาวนายพรานที่อยู่บริเวณเข็มขัดนายพรานนั้น เมื่อดูจากโลกจะเห็นดาวทั้งสองอยู่ใกล้กัน แต่ระยะห่างจริงๆ ของดาวทั้งสองดวงนั้นไกลกันมากกว่า 10-20 ปีแสง ดาวต่างๆ ที่อยู่ในเอกภพเราจะมองเห็นคล้ายกับอยู่บนระนาบ ดังรูป

ที่มารูปภาพ : http://teacheryada2.blogspot.com/2013/03/blog-post_24.html

กลุ่มดาวจักรราศีทั้ง 12 กลุ่มมีดังนี้

1. กลุ่มดาวแกะ (Aries or Ram)
2. กลุ่มดาววัว (Taurus)
3. กลุ่มดาวคนคู่ (Gemini)
4. กลุ่มดาวปู (Cancer)
5. กลุ่มดาวสิงโต (Leo)
6. กลุ่มดาวหญิงพรหมจารีย์ (Virgo)
7. กลุ่มดาวคันชั่ง (Libra)
8. กลุ่มดาวแมงป่อง (Scorpius )
9. กลุ่มดาวคนถือธนู (Sagittarius)
10. กลุ่มดาวมังกร (Capriconus)
11. กลุ่มดาวคนถือหม้อน้ำ (Aquarius)
12. กลุ่มดาวปลา (Pisces)

ในบางครั้งก็เป็นการจำเป็นที่เราจะต้องรู้ตำแหน่งของกลุ่มดาวต่างๆบนท้องฟ้า ว่ากลุ่มดาวนี้อยู่ตรงไหนอยู่ใกล้กับกลุ่มดาวอะไรมีอะไรเป็นที่สังเกต ซึ่งก็เป็นเรื่องยากแต่ถ้าเรามีหลักในการจำแล้วจะทำให้เป็นเรื่องง่าย เนื่องจากมีกลุ่มดาวบางกลุ่มที่โดดเด่นบนท้องฟ้า เนื่องจากเป็นกลุ่มดาวที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์ดวงสว่างมาก ๆ สามารถชี้ไปหากลุ่มดาวอื่นๆได้อีก จึงถือว่าเป็นกลุ่มดาวหลักๆ ที่พวกเราทุกคนควรรู้จัก ดังนี้

1. กลุ่มดาวนายพราน หรือ กลุ่มดาวเต่า
2. กลุ่มดาวไถ
3. กลุ่มดาวหมีใหญ่ หรือ กลุ่มดาวจระเข้
4. กลุ่มดาวหมีเล็ก
5. กลุ่มดาว ค้างคาว หรือ กลุ่มดาวแคสสิโอเปีย
6. กลุ่มดาวม้าปีก
7. กลุ่มดาวลูกไก่

กลุ่มดาวนายพรานเป็นกลุ่มดาวที่มีชื่อเสียงโด่งดังสะท้านเอกภพอีกกลุ่มดาวหนึ่งในฤดูหนาวเพราะสามารถมองเห็นได้ยาวนาน และสังเกตหาง่าย สำหรับคนไทยเรียกกลุ่มดาวนายพรานว่า ดาวเต่า ข้างในดาวเต่ามี ดาวไถ อีกที เนื่องจากกลุ่มดาวนายพราน หรือ Orion ประกอบด้วยดาวฤกษ์จำนวนทั้งหมด 8 ดวง โดยมีดวงสำคัญ 4 ดวง ตั้งเรียงกันเป็นขาเต่าหน้าหลัง
กลุ่มดาวนายพรานมีดาว 2 ดวงที่เป็นดาวฤกษ์สว่างมาก ก็คือดาว บีเทลจุส (Betelgeuse) อยู่ตรงส่วนของไล่ขวานายพรานเป็นดาวยักษ์แดง สีออกแดงๆส้มๆ และอีกดวงก็คือดาว ไรเจล (Rigel) ตรงเข่าซ้ายนายพราน(หรือเท้าซ้าย) ดาบนายพรานคือดวงดาวที่เรียงตัวในแนวดิ่ง ใต้ดาวสามดวงในแนวเกือบจะเป็นแนวนอนก็คือ "เข็มขัดนายพราน" นั่นเอง กลุ่มดาวนายพรานจะเริ่มโผล่ขึ้นจากขอบฟ้าตั้งแต่เวลาประมาณหนึ่งทุ่ม ทางทิศตะวันออกโดยจะขึ้นแบบตะแคงข้าง ส่วนเวลาตกก็ประมาณตีห้า ทางทิศตะวันตกค่อนไปทางใต้เล็กน้อย

กลุ่มดาวดาวไถ จะมองเห็นชัดในฤดูหนาวเป็นดวงดาวสามดวงเรียงกัน ถือว่าเป็นกลุ่มดาวที่ดูได้ง่าย ในฤดูหนาวจะเห็นได้ชัดกลุ่มดาวไถมีประโยชน์ในการค้นหาดาวอื่น ๆ ซึ่งดาวไถจะอยู่ห่างจากโลกประมาณ 800 - 1400 ปีแสง และเป็นแหล่งที่มีดาวดวงใหม่เกิดขึ้นมากที่สุดที่ตรงใจกลางดาวไถมีดวงดาวอยู่ถึง 110 ดวง คนไทยมองเห็นเป็นลักษณะเหมือนคันไถจึงเรียกว่า ดาวไถ ซึ่งกลุ่มดาวไถนี้มีกลุ่มดาวนายพราน (กลุ่มดาวเต่า) ล้อมรอบ โดยที่ดาวไถเป็นเข็มขัดของนายพรานนั่นเอง

กลุ่มดาวที่มนุษย์รู้จักดีที่สุด และใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดก็คือ กลุ่มดาวหมีใหญ่หรือกลุ่มดาวจระเข้ เนื่องจากเป็นกลุ่มดาวสำคัญ ช่วยชี้หาดาวเหนือที่สว่างโดเด่นได้โดยไล่จากขาหน้าขวา ไปทางขาหน้าซ้าย เลยออกไปอีกประมาณ 5 ช่วง กลุ่มดาวหมีใหญ่เป็นกลุ่มดาวที่ี่มองเห็นได้ตลอดทั้งปีเช่นเดียวกับดาวเหนือ แต่ในทางกลับกันเนื่องจากเป็นกลุ่มดาวที่อยู่ในซีกฟ้าเหนือ ผู้ที่อาศัยอยู่ทางซีกโลกใต้มากๆ จะเห็นได้ลำบาก เพราะตำแหน่งดาวบนทรงกลมท้องฟ้า จะอยู่ใต้พื้นโลก

ดาวกลุ่มนี้มี 7 ดวง มีลักษณะคล้ายกระบวยตักน้ำ 4 ดวงเป็นตัวกระบวย อีก 3 ดวง เป็นด้าน ชาวจีนและชาวยุโรปเขาเห็นเป็นรูปกระบวย จึงเรียกกลุ่มดาวกลุ่มนี้ว่า "กระบวยใหญ่" (Big Dipper) ชาวกรีกซึ่งเป็นดินแดนแห่งเทพนิยายอันเกี่ยวกับ ดวงดาวต่าง ๆ เห็นเป็น "หมีใหญ่" (Ursa Major) คนไทยเห็นเป็น "จระเข้" ทั้งกรีกและไทย เห็นเหมือนกันอยู่ 1 อย่างคือ เห็นดาว 3 ดวง ทางด้ามกระบวยเป็นหางหมี และหางจระเข้เหมือนกัน

กลุ่มดาวลูกไก่ หรือ กลุ่มดาวไพลยาดีส หรือ ดาวพี่น้องทั้งเจ็ด นับเป็นหนึ่งในกลุ่มดาวที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด และอาจเป็นกลุ่มดาวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่า จึง เป็นกลุ่มดาวที่ใช้ทดสอบสายตาของคนได้เป็นอย่างดี เพราะถ้าคนทั่วไปจะเห็นเพียง 6 ดวง แต่ถ้าผู้ชำนาญดูบ่อย ๆ นับดูจะได้ 7 ดวง แต่ทว่าดาวกลุ่มนี้ตามความเป็นจริงไม่ได้มีแต่เพียง 7 ดวง แต่มีหลายร้อยดวงเป็น "กระจุกดาว" ถ้ามีกล้อง 2 ตาหรือกล้องโทรทรรศน์ส่องดูดวงกลุ่มนี้ จะเห็นเป็นกระจุกดาวที่สวยงามที่สุดในท้องฟ้ากลุ่มหนึ่ง

กระจุกดาวนี้ประกอบด้วยดาวฤกษ์สีน้ำเงินที่มีอายุราว 100 ล้านปี แต่เดิมเคยเชื่อว่าเศษฝุ่นที่ทำให้เกิดการสะท้อนแสงจาง ๆ เรืองรองรอบดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดน่าจะเป็นเศษที่หลงเหลือจากการก่อตัวของกระจุกดาว (จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เนบิวลามายา ตามชื่อดาวมายา) แต่ปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกันเป็นเพียงฝุ่นเมฆในสสารระหว่างดาวที่ดาวฤกษ์กำลังเคลื่อนผ่านเท่านั้น นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่ากระจุกดาวนี้จะมีอายุต่อไปอีกอย่างน้อย 250 ล้านปี หลังจากนั้นก็จะกระจัดกระจายออกไปเนื่องจากปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงที่เกิดจากดาราจักรเพื่อนบ้านใกล้เคียง

http://teacheryada2.blogspot.com/2013/03/blog-post_26.html
http://writer.dek-d.com/little_satan/story/viewlongc.php?id=260008&chapter=2

<< Go Back