<< Go Back

                     1. เพื่อให้นักเรียนสามารถเขียนรูป และอธิบายลักษณะส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่อยู่ในตำแหน่งต่างๆ กัน
                     2. เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกวันข้างขึ้น ข้างแรมจากลักษณะส่วนสว่างของดวงจันทร์
                     3. เพื่อให้นักเรียนสามารถสรุปการเกิดข้างขึ้นข้างแรมของดวงจันทร์ได้

1. เครื่องฉายแผ่นโปร่งใส 1 เครื่อง
2. ลูกปิงปอง พร้อมไม้เสียบ 24 ลูก
3. กระดาษหนังสือพิมพ์ 4 ฉบับ
4. กระดาษกาว 1 ม้วน

เครื่องฉายแผ่นโปร่งใส กระดาษกาว
ลูกปิงปอง พร้อมไม้เสียบ กระดาษหนังสือพิมพ์


                     1. สมมติให้ลูกปิงปองแทนดวงจันทร์ ผู้ถือด้ามของลูกปิงปองเป็นผู้สังเกตบนโลก และแสงจากเครื่องฉายแผ่นโปร่งแสงแทนด้วยอาทิตย์
                     2. ให้ผู้สังเกตหันด้านหน้าไปทางดวงอาทิตย์ และยื่นแขนที่ถือดวงจันทร์ออกไปด้านหน้า สังเกตส่วนสว่างและส่วนมืดของลูกปิงปอง แล้วบันทึกผลและวาดภาพดวงจันทร์แสดงส่วนสว่างและส่วนมืด
                     3. หมุนตัวไปทางซ้ายครั้งละประมาณ 45 สังเกตส่วนสว่างและส่วนมืดของลูกปิงปอง แล้วบันทึกผล และวาดภาพทุกครั้งจนหมุนกลับมาที่เดิม

                   ผลการทดลองที่ได้ คือ

ตำแหน่งของดวงจันทร์

1

2

3

4

5

6

7

8

เขียนรูปส่วนสว่างที่สังเกตเห็น

สรุปได้ว่า

                   คนบนโลกเห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์แตกต่างกัน คือ ณ ตำแหน่งที่ 1 จะไม่เห็นดวงจันทร์เลย เพราะดวงจันทร์หันด้านมืดมาทางโลก เมื่อดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ 2 จะสว่างเพิ่มขึ้น เมื่ออยู่ที่ตำแหน่งที่ 3 จะสว่างครึ่งดวงมืดครึ่งดวง เมื่ออยู่ตำแหน่งที่ 4 ด้านสว่างจะเพิ่มขึ้น จนกระทั่งดวงจันทร์มาอยู่ ณ ตำแหน่งที่ 5 ด้านที่หันเข้าหาโลกจะเป็นด้านสว่างทั้งหมด จึงเห็นดวงจันทร์เป็นรูปวงกลม และเมื่อโคจรต่อไปก็จะค่อยๆ สว่างลดลงจนกลับมาอยู่ที่ตำแหน่งเดิมอีกครั้ง ซึ่งจะกินเวลา 1 เดือน ด้านที่สว่างของดวงจันทร์คือด้านที่หันเข้าหา
ดวงอาทิตย์


<< Go Back