ดวงอาทิตย์เป็นดาวที่สร้างพลังงานต่าง ๆ ขึ้นมาเอง จึงเรียกว่าดาวฤกษ์ ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ขนาดเล็กที่มีอุณหภูมิพื้นผิวสูง 6000 เคลวิน (หน่วยวัดอุณหภูมิ) จึงจัดว่าเป็นดาวฤกษ์สีเหลือง เพราะมีอุณหภูมิสูงและเป็นดาวฤกษ์หลัก อายุประมาณ 5 พันล้านปี ดวงอาทิตย์มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลกประมาณ 109 เท่า ดวงอาทิตย์มีเนื้อสารมากและมีแรงโน้มถ่วงสูงจึงสามารถดึงสิ่งต่าง ๆ ให้เคลื่อนไปรอบ ๆ ได้ เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า บริวารของดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์และบริวารรวมกันเรียกว่า ระบบสุริยะ บริวารของดวงอาทิตย์ที่สำคัญ คือดาวเคราะห์ 8 ดวง ดวงจันทร์ บริวารดาวเคราะห์รวมกันกว่า 60 ดวง ดาวเคราะห์น้อยหลายหมื่นดวงและดาวหางจำนวนมาก ระบบสุริยะจึงเป็นระบบเล็ก ๆ ที่อยู่ท่ามกลางดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปมาก ดังนั้นดวงอาทิตย์และบริวารดวงอาทิตย์จึงเป็นพวกที่อยู่ใกล้โลกมาก ในขณะที่ดาวอื่นๆอยู่ไกลโลกมาก
ดวงอาทิตย์
ดาวเคราห์ 8 ดวงบริวารทั้งหลายของดวงอาทิตย์ต่างได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ด้วยปริมาณต่าง ๆกัน ดวงที่อยู่ใกล้ได้รับพลังงานมากกว่าพวกที่อยู่ไกล โลกอยู่ในตำแหน่งที่ได้รับพลังงานพอเหมาะจึงทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยบนโลกไม่หนาวและไม่ร้อนเกินไป สภาพแวดล้อมของโลกจึงเอื้ออำนวยต่อการมีชีวิตเป็นอย่างยิ่งดวงอาทิตย์จึงเป็นผู้ให้ชีวิตแก่โลก ดังนั้นหากจะค้นหาโลกอื่นนอกระบบสุริยะจึงควรค้นหาระบบที่มีดาวฤกษ์สีเหลืองแบบเดียวกับดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์มีการหมุนรอบตัวเองเป็นรอบๆ เช่นเดียวกับที่ โลกหมุนรอบตัวเองวันละรอบ เมื่อเราตามสังเกตการเคลื่อนที่ของกลุ่มจุด หรือจุดบนดวงอาทิตย์ไปเรื่อย ๆ เป็นเวลาหลายวัน ก็จะได้พบว่า ดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเองครบรอบในเวลาประมาณหนึ่งเดือน การหมุนรอบตัวเองนี้มีทิศทางตามการหมุน รอบตัวเองของดาวเคราะห์ต่าง ๆ และตามทิศทางซึ่งดาวเคราะห์ต่าง ๆ นั้นโคจรไปรอบดวงอาทิตย์ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ พื้น ผิวดวงอาทิตย์ที่ละติจูดต่าง ๆ หมุนครบรอบในเวลาไม่เท่ากัน แถบศูนย์สูตร หมุนด้วยความเร็วสูงกว่าแถบละติจูดสูงขึ้นไป ดัง จะเห็นได้จากตารางรายการคาบ หรือเวลาที่ใช้หมุนครบรอบของดวงอาทิตย์
การขึ้น - การตกของดวงอาทิตย์และทิศ
ทุกวันเราจะเห็นดวงอาทิตย์ลอยสูงขึ้นจากขอบฟ้าในตอนเช้า เราเรียกว่า เวลาเช้า และเรียกทิศที่ดวงอาทิตย์ขึ้นนี้ว่า ทิศตะวันออก จากนั้นดวงอาทิตย์จะสูงขึ้นเรื่อยๆ เรียกว่า เวลาสาย จนดวงอาทิตย์มาอยู่ตรงพอดีกับศีรษะของเรา เรียกว่า เวลาเที่ยง และจากนั้นดวงอาทิตย์ก็จะเคลื่อนต่ำลง เรียกว่า เวลาบ่าย ไปจนถึงดวงอาทิตย์ตกลงทางขอบฟ้าด้านตรงกันข้ามกับที่ขึ้นในตอนเช้า เราเรียกว่า เวลาเย็น และเรียกทิศที่ดวงอาทิตย์ตกนี้ว่า ทิศตะวันตก เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว โลกเราก็จะมืดลง เรียกว่า เวลากลางคืน
ถ้าลองออกไปยืนที่กลางแดด แสงแดดส่องมากระทบที่ตัวเราหรือวัตถุจะทำให้เกิดเงา ความยาวของเงาเราจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ และจะอยู่ในทิศตรงข้ามกับดวงอาทิตย์
ทิศ
การกำหนดทิศ เกิดจากการสังเกตการขึ้นลงของดวงอาทิตย์ นักวิทยาศาสตร์ได้กำหนดให้ด้านที่เห็นดวงอาทิตย์ขึ้นเป็น ทิศตะวันออก และด้านที่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าเป็น ทิศตะวันตก ถ้าน้องๆ อยากทราบว่า ทิศไหนอยู่ทางใด ให้เราหันหน้าไปทางทิศตะวันออกที่ดวงอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้า แล้วยืนกางแขนออกสองข้าง ด้านหลังตัวเราจะเป็นทิศตะวันตก ด้านขวามือเราจะเป็นทิศใต้ ส่วนด้านซ้ายมือจะเป็นทิศเหนือ
ดวงอาทิตย์ให้ประโยชน์แก่สิ่งมีชีวิตมากมาย ดังนี้
- ให้พลังงานความร้อน ให้แสงสว่าง และความอบอุ่นแก่โลก
- แสงแดดช่วยในการสร้างอาหารของพืช (สังเคราะห์แสง)
- แสงแดดช่วยฆ่าเชื้อโรค และให้วิตามินดีแก่ผิวหนัง
- แสงแดดในการถนอมอาหารของมนุษย์เพื่อเก็บไว้รับประทานได้นานๆ เช่น ทำกุ้งแห้ง ปลาเค็ม กล้วยตาก ปลาช่อนแดดเดียว ฯลฯ -เราสามารถนำพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตกระแสไฟฟ้าได้
- ดวงอาทิตย์ช่วยให้เรารู้ทิศทางต่างๆ
https://sites.google.com/site/krunewkew/science6/s1 |