<< Go Back

                      1. เพื่อให้นักเรียนสามารถสังเกต สำรวจ ทดสอบ ลักษณะเนื้อหิน องค์ประกอบของหิน สี การทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริกของหินอัคนีได้
                      2. เพื่อให้นักเรียนสามารถจำแนกชนิดของหินอัคนี และการใช้ประโยชน์ของ หินอัคนี  ได้

1. ชุดกล่องตัวอย่างหินและแร่1 ชุด 2. กรดไฮโดรคลอริก 1.0 โมล/ลิตร 10 cm3
3. หลอดหยด 1 อัน 4. ปากคีบโลหะ 1 อัน
5. แว่นขยาย1 อัน

                     1. สังเกตลักษณะเนื้อหิน แร่ที่ประกอบอยู่ในหิน และสีของหินอัคนี ด้วยตาเปล่าและแว่นขยาย บันทึกผล
                     2. ชั่งน้ำหนัก และทดสอบความแข็ง ความเหนียว โดยการขูด และสมบัติอื่นๆ ที่เห็นว่าเหมาะสม บันทึกผล
                     3. หยดกรดเกลือลงบนหินอัคนี สังเกตปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น บันทึกผล

                     ผลการทดลองที่ได้ คือ

หิน
หมายเลขที่

ลักษณะเนื้อหิน

การทำปฏิกิริยากับกรด
ไฮโดรคลอริก

ชื่อหิน

1

เนื้อหยาบ หนัก มีหลายสี เช่น สีเทา ชมพูม่วง ผลึกแร่มีหนึ่งหรือสองขนาด หินแกรนิตมีแร่ประกอบหินหลายชนิด ทำให้มีสีต่าง ๆ
ประกอบกับมีขนาดและการเรียงตัวของแร่ต่าง ๆ กัน ทำให้เกิดลวดลายในหิน

ไม่ทำปฏิกิริยา

หินแกรนิต

2

เนื้อหยาบ หนัก สีดำ เทาเข้มปนขาว ผลึกมี ขนาดเดียวและสม่ำเสมอ

ไม่ทำปฏิกิริยา

หินไดออไรต์

3

เนื้อหยาบ หนัก สีดำ เทาเข้มปนขาว ผลึกมีขนาดเดียวและสม่ำเสมอ

ไม่ทำปฏิกิริยา

หินไดออไรต์

4 เนื้อหินค่อนข้างละเอียด มีสีเนื้อ น้ำตาลอ่อนๆ และมีแร่ดอก คือ ควอตซ์ และแอลคาไลด์
เฟลสปาร์ ชนิดออร์โทเคลส เนื้อพื้นเป็นเนื้อแก้ว
ไม่ทำปฏิกิริยา หินไรโอไลต์
5 เนื้อละเอียดมาก และมีแร่ดอกสีเขียวเข้ม ไม่ทำปฏิกิริยา หินแอนดีไซต์
6 เนื้อแน่น ละเอียด มีรูพรุน และมีสีดำเข้ม ไม่ทำปฏิกิริยา หินบะซอลต์

สรุปได้ว่า

หินอัคนีสามารถจำแนกได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ
                    1. หินอัคนีที่เกิดจากการตกผลึกของแมกมาใต้เปลือกโลก เนื้อหินจะมีลักษณะผลึกหยาบเนื่องจากตกผลึกช้า ได้แก่ หินแกรนิต หินไดออไรต์    หินแกบโบ
                    2. หินอัคนีที่เกิดจากการตกผลึกของลาวาบนผิวโลก เนื้อหินจะมีลักษณะผลึกละเอียดเนื่องจากตกผลึกเร็ว ได้แก่ หินไรโอไลต์ หินแอนดีไซต์ หินบะซอลต์
                    3. การนำหินอัคนีมาใช้ประโยชน์ต้องพิจารณาสมบัติของหิน จุดประสงค์ของผู้ใช้และใช้ประโยชน์สูงสุด


<< Go Back