ประเภท:
หินอัคนีแทรกซอน
ลักษณะ:
เนื้อหยาบ ผลึกแร่ใหญ่ค่อนข้างสม่ำเสมอ มีสีคล้ำอาจถึงดำเพราะปริมาณแร่สีเข้มมีมากขึ้น
กระบวนการเกิด:
กำเนิดอยู่ภายใต้ผิวโลก เกิดจากหินหนืดมาเย็นตัวเป็นหินอยู่ใต้พื้นผิวโลก
องค์ประกอบ:
แร่ที่สำคัญคือ แร่เพลจิโอเคลสเฟลด์สปาร์ ไปโอไทต์ ฮอร์นเบลนด์ และ ไพรอกซีน จะไม่มีแร่ควอตซ์ปนอยู่ ด้วย หรืออาจจะมีแต่น้อยมาก แร่ที่การเพิ่มมากขึ้น คือ โซดาไลม์เฟลด์สปาร์ และแร่สีเข้ม
บริเวณที่พบ:
ในประเทศไทยพบไม่มากนัก และโดยมากในบริเวณเดียวกับที่ที่พบหินแกรนิต เช่นที่จังหวัดตาก เลย แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ เชียงราย สระบุรี ลพบุรี และนครราชสีมา
ประโยชน์:
ใช้เป็นหินก่อสร้างแทนหินแกรนิต เพราะว่ามีค่ากำลังวัสดุสูง เนื้อหยาบ ความพรุนต่ำ มีการยึดติดกับยางมะตอย สูง
http://www.acsp.ac.th/rock_garden/content/diorite.php
|