<< Go Back
        
เพื่อให้นักเรียนสามารถทดลองและอธิบายได้ว่าขนาดของแรงดึงสปริงและระยะที่สปริงยืดมีความสัมพันธ์กัน

1. สปริง 1 อัน

2. เครื่องชั่งสปริง  1 อัน


3. ไม้เมตร  1 อัน

1. ใช้ขอเกี่ยวของเครื่องชั่งสปริงเกี่ยวปลายหนึ่งของสปริงที่วางบนพื้นราบ และยึดปลายข้างหนึ่งไว้ ดังภาพ

2. ดึงเครื่องชั่งสปริงให้สปริงยืดออกเป็นระยะต่างๆ กัน เช่น 1 หรือ 2 เซนติเมตร อ่านค่าของแรงดึง และบันทึกระยะที่สปริงยืดออกจากตำแหน่งเดิม เขียนกราฟระหว่างขนาดของแรงดึงกับระยะทางที่สปริงยืดออก

ตำแหน่งสมดุล คือตำแหน่งของปลายสปริงด้านที่ไม่ได้ถูกดึงในขณะที่สปริงมีความยาวปกติไม่ยืดและไม่หด

• ในการตรึงปลายสปริงอาจตรึงกับเหล็กหรือใช้มือจับให้แน่นอยู่กับที่
• ควรวางไม้เมตรตรึงไว้กับที่ข้าง ๆ สปริง เพื่อสะดวกในการอ่านค่าระยะยืด


ผลการทดลองที่ได้

สรุปได้ว่า       เมื่อออกแรงดึงสปริงจะทำ ให้สปริงยืด โดยถ้าต้องการให้สปริงยืดมากขึ้นก็ต้องออกแรงมากขึ้น เมื่อเขียนกราฟระหว่างขนาดของแรงที่ใช้ดึงกับระยะที่สปริงยืดออกจากตำแหน่งสมดุลจะได้กราฟเส้นตรง แสดงว่าขนาดของแรงดึงแปรผันตรงกับระยะที่สปริงยืดออกจากตำแหน่งสมดุล
ในการดึงสปริงให้ยืดออกจะมีการทำงาน เพราะมีแรงกระทำ ต่อสปริงทำ ให้สปริงมีระยะยืดตามแนวแรง โดยถ้าสปริงยืดมากงานที่ทำ ก็จะมีค่ามาก
งานที่ทำ จะสะสมในสปริงในรูปของพลังงานศักย์ยืดหยุ่น โดยถ้าสปริงมีระยะยืดมากก็จะมีพลังงานศักย์ยืดหยุ่นมาก
พลังงานศักย์ยืดหยุ่นในหนังสติ๊กมีลักษณะแบบเดียวกับพลังงานศักย์ยืดหยุ่นในสปริง คือเป็นพลังงานที่สะสมในวัตถุที่มีระยะยืด หรือระยะหด นอกจากนี้ยังได้ว่าพลังงานศักย์ยืดหยุ่นสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ได้ด้วย


<< Go Back