พลังงานศักย์ (Potential energy) คือ พลังงานที่สะสมในวัตถุอันเนื่องมาจากตำแหน่งของวัตถุ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์
พลังงานศักย์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.พลังงานศักย์โน้มถ่วง (Gravitational Potential Energy) เป็นพลังงานศักย์ที่สะสมในวัตถุ เมื่ออยู่บนที่สูง พลังงานศักย์โน้มถ่วงจะมีค่ามากหรือค่าน้อย ขึ้นอยู่กับมวลและตำแหน่งแนวดิ่ง เช่น การตกของลูกมะพร้าวจากต้น การยืนอยู่บนที่สูง การปล่อยตุ้มตอกเสาเข็ม สามารถหาค่าพลังงานศักย์โน้มถ่วง จากงานเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกที่กระทำต่อวัตถุ เมื่ออยู่บนที่สูง หาพลังงานศักย์โน้มถ่วงได้จากสมการ
เมื่อ m แทน มวลของวัตถุ มีหน่วยเป็นกิโลกรัม (kg)
g แทน ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก
h แทน ระยะหรือความสูงจากระดับอ้างอิง มีหน่วยเป็นเมตร (m)
2.พลังงานศักย์ยืดหยุ่น(Elastic Potential Energy) คือ พลังงานศักย์ของสปริงขณะที่ยืดออก หรือหดเข้าจากตำแหน่งสมดุล เขียนแทนด้วย
หาพลังงานศักย์ยืดหยุ่นได้จากสมการ
เมื่อ x คือ ระยะห่างจากจุดสมดุล มีหน่วยเป็นเมตร (m)
k คือ ค่านิจสปริง มีหน่วยเป็นนิวตันต่อเมตร (N/m)
โดยที่ k = F/x
https://sites.google.com/site/atitiya119/home/phlangngan-saky-potential-energy
|