<< Go Back

                   1. เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายความหมายของสารตั้งต้น ผลิตภัณฑ์ กฎทรงมวลของสาร
                   2. เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายได้ว่าสารตั้งต้นชนิดเดียวกันจะทำปฏิกิริยากับสารต่างชนิดกันได้เร็วหรือช้าต่างกัน
                   3. เพื่อให้นักเรียนสามารถยกตัวอย่างปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยา

1. ลวดแมกนีเซียม ยาว 2 cm      2    ชิ้น

2. สารละลายกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น1 mol/dm3 (3.65%)    5.4     cm3

 

 

 

 

3. นํ้ากลั่น       50        cm3

4. หลอดทดลองขนาดกลาง      2          หลอด

5. กระดาษทราย ขนาด 5 cm × 5 cm      1    แผ่น

6. ที่ตั้งหลอดทดลอง       1          อัน

   

 

                  1. ขัดลวดแมกนีเซียมยาว 2 cm ให้สะอาดใส่ลงในหลอดทดลองที่มีสารละลายกรดโฮโดรคลอริกเจือจาง สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงบันทึกผล
                  2. ทำการทดลองซ้ำ แต่เปลี่ยนไปใช้น้ำกลั่นแทนสารละลายกรดไฮโดรคลอริก

                  ผลการทดลอง ที่ได้คือ

สารตัวอย่าง

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ลวดแมกนีเซียม + สารละลาย
กรดไฮโดรคลอริก

มีฟองก๊าซเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและลวด
แมกนีเซียมสึกกร่อน ทิ้งไว้สักครู่จะละลายหมด

ลวดแมกนีเซียม + นํ้ากลั่น

มีฟองก๊าซเกิดขึ้นช้า ๆ ลวดแมกนีเซียมสึกกร่อนเพียงเล็กน้อย

                  สรุปได้ว่า

                  1. โลหะแมกนีเซียมทำปฏิกิริยากับกรดได้เร็วกว่าทำปฏิกิริยากับนํ้า
                  2. ปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับกรด และโลหะกับนํ้า จะมีก๊าซไฮโดรเจนเกิดขึ้น ซึ่งถ้าตรวจสอบก๊าซนี้จะพบว่าติดไฟได้
                  3. สารที่นำ มาทำ ปฏิกิริยากันเรียกว่าสารตั้งต้น สารที่เกิดขึ้นจากการทำ ปฏิกิริยาเรียกว่าผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีสมบัติต่างจากสารตั้งต้น เมื่อใช้สารตั้งต้นต่างชนิดกัน จะได้ผลิตภัณฑ์ต่างกันและเกิดปฏิกิริยาเคมีได้เร็วช้าต่างกัน


<< Go Back