1. เพื่อให้นักเรียนสามารถทดลองและสรุปวิธีการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียวโดยการระเหยได้
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถสรุปเกี่ยวกับสมบัติบางประการขององค์ประกอบของสารเนื้อเดียวได้
1. ไม้ขีดไฟ 1 กลัก
|
2. หลอดทดลองขนาดกลาง 3 หลอด
|
3. หลอดหยด 3 หลอด
|
4. จานหลุมโลหะ 1 ใบ
|
5. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลมและตะแกรงลวด 1 ชุด
|
6. ที่ตั้งหลอดทดลอง 1 อัน
|
7. สารละลายแอมโมเนีย 1 ลบ.ซม.
|
8. สารละลายโซเดียมคลอไรด์ 1 ลบ.ซม.
|
9. น้ำกลั่น 1 ลบ.ซม.
|
|
1. นำสารละลายโซเดียมคลอไรด์ น้ำกลั่น และสารละลายแอมโมเนียที่เตรียมไว้มาสังเกตลักษณะของเนื้อสารและสมบัติของสาร พร้อมบันทึกผลที่สังเกตได้
2. ใช้หลอดหยดดูดสารละลายโซเดียมคลอไรด์ แล้วหยดลงในจานหลุมโลหะ ต่อจากนั้นนำไปต้มด้วยอุปกรณ์ที่เตรียมไว้ โดยต้มจนแห้ง แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พร้อมบันทึกผล
3. ดำเนินการทดลองซ้ำเช่นเดียวกับข้อ 2โดยใช้น้ำกลั่นและสารละลายแอมโมเนียที่เตรียมไว้ตามลำดับ
หมายเหตุ
1. ควรเตรียมสารละลายโซเดียมคลอไรด์ โดยใช้โซเดียมคลอไรด์ 5 กรัม ละลายในน้ำ ทำเป็นสารละลาย 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร แล้วกรองเอาแต่ส่วนที่ใสไว้
2. ควรเตรียมสารละลายแอมโมเนีย โดยใช้สารละลายแอมโมเนีย 50 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร ละลายน้ำใน ทำเป็นสารละลาย 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ผลการทดลองที่ได้ คือ
สารที่ใช้ทดลอง |
ผลการสังเกต |
1. เกลือแกง (โซเดียมคลอไรด์) |
ผลึกสีขาว เนื้อเดียว เป็นของแข็ง |
2. น้ำกลั่น |
ใสไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เนื้อเดียว ของเหลว |
3. น้ำกลั่น + เกลือแกง เขย่า |
ใสไม่มีสี ไม่มีกลิ่น |
4. สารหมายเลข 3 (น้ำเกลือ) ต้มในจานหลุม โลหะจนแห้ง |
ของแข็งสีขาวติดอยู่จานหลุมโลหะ ขณะต้มเห็นไอน้ำระเหยไป |
สรุปได้ว่า
สารเนื้อเดียว หมายถึง มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกลมกลืนกันทุกส่วนอาจมีสารเพียงชนิดเดียวหรือมากกว่ารวมกันอยู่
- สารบริสุทธิ์ หมายถึง สารเนื้อเดียวที่มีสารเพียงเนื้อเดียวเช่น น้ำ , เกลือ
- สารละลาย หมายถึง สารเนื้อเดียวที่มีสารบริสุทธิ์เป็นองค์ประกอบรวมกันมากกว่าหนึ่งชนิด เช่น น้ำเกลือ มีเกลือกับน้ำเป็นองค์ประกอบรวมกันเป็นเนื้อเดียว
|