คุณสมบัติทางเคมี และปฏิกิริยาเคมี
1. มีฤทธิ์กัดกร่อน และเป็นด่างสูง สารละลายแอมโมเนียความเข้มข้น 1.0 N มี pH 11.6 สารละลายแอมโมเนียความเข้มข้น 0.1 N มี pH 11.1
2. สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำ เกิดแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ และให้ความร้อน (Exothermic)
3. เกิดการสลายตัวเมื่อได้รับความร้อน พร้อมเกิดละอองฟูมกัดกร่อน (Corrosive fume of ammonia) และก๊าซพิษออกไซด์ของไนโตรเจน
4. สามารถทำปฏิกิริยากัดกร่อนโลหะตะกั่ว ดีบุก ทองแดง อลูมิเนียม หรือโลหะผสมทองแดง
เช่น ทองเหลือง สังกะสี หรือเหล็ก ได้
5. สามารถทำปฏิกิริยากับสารออกซิไดซ์ สารประกอบที่มีธาตุหมู่ฮาโลเจน เช่น เงิน ปรอท โบรอน ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม แคลเซียม จนทำให้เกิดการลุกไหม้ และระเบิดรุนแรง
6. สามารถติดไฟได้เมื่อทำปฏิกิริยากับกรดไนตริก และระเบิดได้ในที่อับอากาศเมื่อมีการติดไฟ
7. สามารถทำปฏิกิริยารุนแรงกับเอไมด์ และกรดได้
8. แอมโมเนียทำปฏิกิริยากับยาง พลาสติก และสารเคลือบผิว ทำให้เกิดบูดบวม และหมดสภาพสารได้
ประโยชน์
1. แอมโมเนียเป็นสารที่นิยมใช้สำหรับการทำความเย็น ซึ่งมีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับสารอื่่นๆ
2. แอมโมเนียมีการใช้งานอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมย้อมผ้า ยา เส้นใยสังเคราะห์
พลาสติก ปุ๋ย วัตถุระเบิด อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง โรงกลั่นน้ำมัน และไอครีม
3. ใช้ในวงการแพทย์สำหรับสูดดม ช่วยอาการเป็นลม หน้ามืด วิงเวียนศรีษะ
ข้อมูลความเป็นอันตราย
1. จัดจำแนกหมวดหมู่สินค้าอันตราย (Hazardous Goods Classification) จัดอยู่ใน Class 2.3 คือ เป็นก๊าซพิษ และกัดกร่อน
2. จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 รหัสทะเบียนวอ.3005
3. ติดไฟได้ที่ความเข้มข้น 16-25%
4. ติดไฟได้เองที่อุณหภูมิ 650 องศาเซลเซียส
5. ก๊าซแอมโมเนียเหลว เมื่อมีการรั่วไหลจะรวมตัวกับความชื้นในอากาศทำให้เกิดเป็นหมอกควันสีขาวของแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ อัตราการขยายตัวกลายเป็นก๊าซแอมโมเนียในอัตราส่วน 1:850 นั่นคือจะขยายตัวเป็นก๊าซได้ 850
6. แอมโมเนียที่เป็นของเหลวมีจุดเดือดที่ -28 องศาฟาเรนไฮ ที่อุณหภูมินี้สามารถทำให้เกิดการไหม้จากความเย็นเมื่อสัมผัสทำให้เนื้อเยื่อตายเนื่องจากความเย็นจัด
7. ถึงแม้ไอของแอมโมเนียบริสุทธิ์จะไม่ติดไฟที่ความเข้มข้นน้อยกว่า 16% แต่ก็สามารถทำให้เกิดการระเบิดหรือติดไฟได้ที่ความเข้มข้นระหว่าง 16-25% แอมโมเนียที่มีน้ำมันหล่อลื่นผสมอยู่จากระบบ อาจจะติดไฟหรือระเบิดได้ ที่ความเข้มข้น 8% เช่น ในอุตสาหกรรมอาหาร และไอครีม(นันทิยา หาญศุภลักษณ์, 2549)2
8. แอมโมเนียแห้งจะไม่กัดกร่อนโลหะ แต่แอมโมเนียเหลว และแอมโมเนียแห้งที่สัมผัสกับน้ำหรือความชื้นจะออกฤทธิ์กัดกร่อนโลหะได้ง่าย (ณัฏฐชัย ศิริพงษ์, 2546)
แอมโมเนีย
http://www.siamchemi.com/แอมโมเนีย/
|