<< Go Back

          1. เพื่อให้นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลและอธิบายหลักการผสมเทียมการถ่ายฝากตัวอ่อนและการโคลน
          2. เพื่อให้นักเรียนสามารถอภิปรายและนำเสนอผลของการใช้เทคโนโลยีในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์

          1. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ ในปัจจุบันที่ช่วยในการมีบุตร สำหรับผู้ที่มีบุตรยาก
          2. อภิปรายในชั้นเรียนถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดังกล่าวมีผลทางสังคม
          3. นำเสนอผลการศึกษา

          การผสมเทียมอาศัยหลักการของการผสมระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ และเพศเมีย โดยไม่ต้องการจับคู่ผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ ในการผสมเทียมสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายใน เช่น โค กระบือ แพะ กระทำโดยการรีดน้ำเชื้อจากสัตว์ตัวผู้ แล้วฉีดเข้าไปทางอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์ตัวเมีย ในช่วงเวลาที่เป็นสัด คือระยะไข่สุก เซลล์อสุจิจะเข้าไปผสมจะเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่เกิดการปฏิสนธิ สัตว์ตัวเมียก็จะตั้งท้อง นอกจากจะใช้กับสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายในแล้ว ยังสามารถนำไปใช้กับสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายนอกได้อีกด้วย ได้แก่ ปลาต่างๆ เช่น ปลาตะเพียนขาว ปลาดุกอุย ปลายี่สก ปลานิล เป็นต้น
          การถ่ายฝากตัวอ่อน เป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้เพิ่มจำนวนสัตว์พันธุ์ดีให้มากขึ้นในเวลาเท่าเดิม การถ่ายฝากตัวอ่อนมีหลักการคือ นำตัวอ่อนที่เกิดจาการผสมระหว่างเซลล์ไข่ของสัตว์แม่พันธุ์ และเซลล์อสุจิของพ่อพันธุ์คัดเลือกไว้ ออกมาจากมดลูกของแม่พันธุ์ ที่เรียกว่า ตัวให้ ไปฝากใส่ไว้ให้เจริญเติบโตในมดลูกของตัวเมียอีกตัวหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ตัวรับ จนคลอด โดยปกติ สัตว์พวกโค กระบือ ตัวเมียจะตกไข่ครั้งละ 1 เซลล์ แต่สามารถกระตุ้นให้ตกไข่ครั้งละหลายๆ เซลล์ได้ โดยการฉีดฮอร์โมน เมื่อเกิดการผสมพันธุ์ จึงได้ตัวอ่อนหลายตัวในคราวเดียวกัน จากนั้นเก็บเอาตัวอ่อนออกมาจากมดลูกของแม่พันธุ์ ก่อนที่ตัวอ่อนจะฝังตัวกับผนังมดลูก แล้วนำไปฉีดเข้าไปในมดลูกของตัวรับหลายๆ ตัว ขั้นตอนนี้เรียกว่า การถ่ายฝาก
          การโคลน เป็นวิธีการในการผลิตสิ่งมีชีวิตที่มีพันธุกรรมเหมือนกัน การโคลนในสัตว์มีหลักการคือ นำเซลล์ไข่มาดูดเอานิวเคลียสออก จากนั้นนำนิวเคลียสของเซลล์ร่างกาย เช่น เซลล์ผิวหนัง เซลล์เต้านม ของสัตว์ชนิดเดียวกันที่มีสายพันธุ์ดีตามที่ต้องการ ใส่เข้าไปแทนที่นิวเคลียสของเซลล์ไข่ที่ดูดออกไป จากนั้นนำไปเพาะเลี้ยงให้มีการเจริญเป็นเอ็มบริโอ แล้วนำไปถ่ายฝากไว้ในมดลูกของสัตว์ตัวเมีย ซึ่งเป็นตัวรับ เอ็มบริโอจะเจริญเติบโตจนกระทั่งคลอดออกมาเป็นสัตว์ที่มีลักษณะและพันธุกรรมที่ต้องการ
            สรุปได้ว่า การใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ ซึ่งหมายถึง การคัดเลือกและการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณ  และคุณภาพของสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์บก สัตว์น้ำ และสัตว์ปีก เช่น โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ และปลา มีการนำเทคโนโลยีด้านการผสมเทียม การถ่ายฝากตัวอ่อน การโคลนนิ่ง พันธุวิศวกรรม เพื่อปรับปรุงสัตว์ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ มีการเพิ่มปริมาณสัตว์ด้วยการใช้ฮอร์โมนหรือสารกระตุ้นความสมบูรณ์พันธุ์และอัตราการเจริญเติบโตของสัตว์บางประเภท เช่น โค กระบือ และการนำเทคโนโลยีชีวภาพในด้านต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม อาหาร และการแพทย์ ปฏิบัติการต่าง ๆ ที่ได้กระทำไปแล้วนั้นส่งผลให้ผลผลิตด้านเกษตรกรรมเกี่ยวกับสัตว์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้มีผลผลิตเหล่านี้เพื่อใช้ในการอุปโภคและบริโภคอย่างเพียงพอ ไม่ประสบปัญหาการขาดแคลนอาหาร และยังสารมารถส่งเป็นสินค้าออกที่สำคัญได้อีกด้วย  ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น มีเงินที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ได้


<< Go Back