การโคลน
ในทางชีววิทยา การโคลน หมายถึง การสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ ซึ่งมีลักษณะพันธุกรรมเหมือนสิ่งมีชีวิตต้นแบบทุกประการ วิธีการโคลนวิธีหนึ่งคือนำนิวเคลียสของเซลล์ร่างกายใส่เข้าไปในเซลล์ไข่ ที่ถูกดูดเอานิวเคลียสออกไปก่อนแล้ว ด้วยกระบวนการนี้เซลล์ไข่ที่มีนิวเคลียสของเซลล์ร่างกาย จะพัฒนาเป็นสิ่งมีชีวิตใหม่โดยใช้ข้อมูลของสารพันธุกรรมจากนิวเคลียสของเซลล์ร่างกาย สิ่งมีชีวิต ตัวใหม่จึงมีลักษณะพันธุกรรมเหมือนกับสิ่งมีชีวิตต้นแบบ
ซึ่งการโคลนนิ่งได้ทำกับพืชมานานหลายสิบปี ที่เรียกว่า การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการโคลนนิ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สำเร็จครั้งแรก โดยทำกับแพะ และแกะ แกะตัวแรกที่ได้จากการโคลนนิ่งมีชื่อว่า " ดอลลี่ "
วิธีการโคลนนิ่งแกะดอลลี่
ประโยชน์ หรือ ข้อดี ของการโคลนนิ่ง (Advantages of Cloning)
-
ช่วยในการเพิ่มจำนวนพันธุ์สัตว์และพันธุ์พืชหายาก หรือเพิ่มจำนวนพันธุ์สัตว์และพันธุ์พืชที่ใกล้ที่จะสูญพันธุ์ ได้เร็วกว่าการผสมพันธุ์กันแบบปกติตามธรรมชาติ
-
ช่วยในการเพิ่มจำนวนสัตว์ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่ดี เช่น หมูที่ให้เนื้อในปริมาณมาก หรือโคที่ให้น้ำนมในปริมาณมาก ที่มีความต้านทานโรคสูง เป็นต้น
-
ช่วยในการเพิ่มจำนวนสัตว์ที่ได้มีการปรับปรุงลักษณะทางพันธุกรรมทั้งสัตว์ที่ผสมพันธุ์กันด้วยวิธีทางธรรมชาติ หรือผสมเทียม หรือสัตว์ที่เป็นจีเอ็มโอโดยสัตว์เหล่านี้อาจปรับปรุงพันธุ์มาเพื่อผลิตยารักษาโรคได้
-
ช่วยในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องใช้สัตว์ทดลองที่มีพันธุกรรม และลักษณะที่เหมือนกันเป็นจำนวนมาก เพื่อช่วยในการ ผลิตอวัยวะ ของสัตว์ ที่มีลักษณะเหมือนกันเพื่อที่จะใช้ในการย้ายฝาก
-
ช่วยในการปลูกถ่ายทดแทนอวัยวะของมนุษย์ ซึ่งอาจได้อวัยวะที่เข้ากันได้โดยภูมิคุ้มกันตัวเอง ไม่ต่อต้านอวัยวะใหม่ที่รับเข้าไป ซึ่งช่วยทำให้ลดความเสี่ยงในการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
- ท
ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจกลไกการทำงานของยีนมากขึ้น อย่างเช่นในกรณี ผู้ป่วยที่สมองตายจากการเป็นอัมพาต โดยที่อาจ สามารถทำการกระตุ้น ให้เซลล์สมองเกิดการแบ่งตัวทดแทนเซลล์เดิมที่ตายไปได้ หรือในกรณีของผู้ป่วยที่ไตวาย อาจสามารถทำการกระตุ้นการทำงานของไตและทำการกระตุ้นให้เซลล์ไตที่เหลืออยู่เกิดการแบ่งตัวแล้วทำหน้าที่แทนกันได้
จะเห็นได้ว่าการโคลนนิ่งนั้นมีข้อดีหรือประโยชน์ทั้ง ด้านทางการแพทย์ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ การรักษาพันธุ์ ด้านการเกษตรกรรม แต่การโคลนนิ่งยังมีปัญหาทางด้านจริยธรรมจากการปลูกถ่ายทดแทน อวัยวะของมนุษย์เพราะต้องโคลนนิ่ง คนที่เหมือนกันแล้วนำอวัยวะของโคลนมาใช้กับคนที่เป็นเจ้าของเดิมทำให้คนที่ถูกโคลนออกมามีอวัยวะไม่ครบ แต่ถึงอย่างนั้นยังมีวิธีการอื่นที่ไม่ใช่การโคลนนิ่งในการสร้างอวัยวะอยู่ เช่น สเต็มเซลล์เป็นต้น นอกจากนี้การโคลนนิ่งยังไม่เป็นที่ยอมรับจากทางศาสนาอย่างนิกายโรมันคาทอลิก และยังไม่เป็นที่ยอมรับของนักสังคมศาสตร์ในแง่มุม ของการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลอาจทำได้ยากขึ้นหากยอมให้มีการโคลนนิ่งเกิดขึ้น ดังนั้นในปัจจุบันนี้การโคลนนิ่งมนุษย์จึงยังไม่อาจจะทำได้ และทำให้ข้อมูลทางรายงานการวิจัยเกี่ยวกับการโคลนนิ่ง มนุษย์ยังมีอยู่น้อยมาก
ข้อเสีย หรือ ผลเสีย ของการโคลนนิ่ง (Disadvantages of Cloning)
-
ทำให้เกิดความไม่เป็นเอกลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตที่เป็นตัวต้นแบบ
-
ทำให้เกิดการขาดความหลากหลายทางชีวภาพ
-
อาจทำให้การพัฒนาสายพันธุ์ที่ดีมีน้อยลงเพราะมีลักษณะเหมือนกันไปหมดไม่เปลี่ยนแปลง
-
อาจทำให้มีวิวัฒนาการลดลง และอาจลดความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ได้(เพราะมีความเหมือนกันเป็นจำนวนมาก)
-
มนุษย์ยังมีปัญหาด้านจริยธรรม เช่น อย่างในกรณีการปลูกถ่ายทดแทนอวัยวะของมนุษย์เพราะต้องทำคนที่เหมือนกัน ออกมาแล้วนำอวัยวะ ของโคลนนั้น มาปลูกถ่ายแทนที่อวัยวะคนที่เป็นต้นแบบ ซึ่งทำให้คนที่ถูกโคลนออกมามีอวัยวะไม่ครบ
-
มีปัญหาในทางด้านกฎหมายในการพิสูจน์จำแนกผู้กระทำผิดในคดีต่างๆ โดยใช้การตรวจดีเอ็นเอเพราะโคลนมีดีเอ็นเอหมือนกับคนต้นแบบ ทำให้ยากที่จะจำแนกได้ว่าคนที่เป็นต้นแบบหรือโคลนเป็นผู้กระทำผิด หรือแม้แต่ลักษณะรูปร่างหน้าตาที่เหมือนกันอาจทำให้พยานระบุผิดคน เป็นต้น
-
ที่หากเกิดคัดสายพันธุ์ที่เป็นต้นแบบในการโคลนนิ่งผิดหรือมีลักษณะที่ไม่ดีตามคาดอาจมีผลเสียอื่นตามมาทีหลังได้
https://sites.google.com/site/biotechnology510/cloning
|