<< Go Back

แบบทดสอบก่อนเรียนบทที่ 10

1. ข้อใดแบ่งลำดับชั้นของการจัดการข้อมูลตามขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ได้ถูกต้อง

  1. ไฟล์หรือแฟ้มตารางข้อมูล (File) , เรคคอร์ด (Record) , ฟีลด์ (Field) , ไบต์ (Byte) , บิต (Bit )
  2. เรคคอร์ด (Record) , บิต (Bit ) , ไบต์ (Byte) , ฟีลด์ (Field) , ไฟล์หรือแฟ้มตารางข้อมูล (File)
  3. บิต (Bit ) , ไบต์ (Byte) , ฟีลด์ (Field) , เรคคอร์ด (Record) , ไฟล์หรือแฟ้มตารางข้อมูล (File)
  4. บิต (Bit ) , ฟีลด์ (Field) , ไบต์ (Byte) , เรคคอร์ด (Record) , ไฟล์หรือแฟ้มตารางข้อมูล (File)
 
2. ข้อใดคือฟังก์ชัน สำหรับทำการเปิดแฟ้มข้อมูล
  1. ฟังก์ชัน fclose ( )
  2. ฟังก์ชัน fopen( )
  3. ฟังก์ชัน fgetc( )
  4. ฟังก์ชัน open( )
 
3. ฟังก์ชัน fopen( ) ถูกจัดเก็บอยู่ในแฟ้มข้อมูลใด
  1. ไลบรารี conio.h
  2. ไลบรารี stdio.h
  3. ไลบรารี math.h
  4. ไลบรารี string.h
     
4. ข้อใดคือโหมดการเปิดไฟล์สำหรับอ่านและเขียนข้อมูลใหม่ทับข้อมูลเดิม หรือสร้างไฟล์ใหม่
  1. โหมด r+
  2. โหมด a+
  3. โหมด w+
  4. โหมด r
     

5. การเปิดไฟล์ด้วยโหมดใด ถ้าพบว่ายังไม่มีไฟล์ จะเกิด error ทันที

  1. โหมด r
  2. โหมด w
  3. โหมด a
  4. โหมด e
     

6.  การเปิดไฟล์ด้วยโหมด “r” มีลักษณะการทำงานอย่างไร

  1. เปิดไฟล์สำหรับอ่านข้อมูลอย่างเดียว
  2. เปิดไฟล์สำหรับเขียนข้อมูลอย่างเดียว
  3. เปิดไฟล์สำหรับสร้างไฟล์ใหม่
  4. เปิดไฟล์สำหรับเขียนข้อมูลต่อท้ายข้อมูลเดิมในไฟล์
     

7. การเปิดไฟล์ด้วยโหมด “a” มีลักษณะการทำงานอย่างไร

  1. เปิดไฟล์สำหรับอ่านข้อมูลอย่างเดียว
  2. เปิดไฟล์สำหรับเขียนข้อมูลอย่างเดียว
  3. เปิดไฟล์สำหรับสร้างไฟล์ใหม่
  4. เปิดไฟล์สำหรับเขียนข้อมูลต่อท้ายข้อมูลเดิมในไฟล์
     

8. ลำดับชั้นข้อมูลใดประกอบด้วยกลุ่มของตัวอักษร ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปมาประกอบกันเป็นหน่วยข้อมูลที่ใหญ่ขึ้น เช่น เขตข้อมูลเกี่ยวกับพนักงาน ประกอบด้วย รหัสพนักงาน ชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง

  1. บิต (Bit)  
  2. เรคอร์ด (Record)  
  3. ฟิลด์ (Field)  
  4. ไบต์ (Byte)   
     
9. ฟังก์ชัน fclose () มีลักษณะการทำงานแบบใด
  1. เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับการปิดแฟ้มข้อมูล
 
  2. เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับการเปิดแฟ้มข้อมูล  
  3. เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับบันทึกไฟล์ลงแฟ้มข้อมูล
  4. เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการลบข้อมูลในแฟ้มข้อมูล
     

10. ข้อใด ไม่ใช่ ฟังก์ชันที่ใช้ในการอ่านข้อมูลจากไฟล์

  1. ฟังก์ชัน fget()
  2. ฟังก์ชัน fgets()
  3. ฟังก์ชัน fprintf()
  4. ฟังก์ชัน fscanf()
   
11. ข้อใดคือ ฟังก์ชันที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลลงไฟล์
  1. ฟังก์ชัน fputs()
  2. ฟังก์ชัน fopen()
  3. ฟังก์ชัน fgetc()
  4. ฟังก์ชัน feof ()
   
12. ฟังก์ชัน fputc() มีลักษณะการทำงานแบบใด
  1. เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการอ่านข้อมูลจากไฟล์
  2. ใช้ตรวจสอบการสิ้นสุดไฟล์
  3. ใช้ในการเลื่อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการภายในไฟล์
  4. เป็นคำสั่งบันทึกข้อมูลทีละตัวอักษรลงในไฟล์
   

13. ข้อใดคือ ฟังก์ชันที่ใช้ตรวจสอบการสิ้นสุดแฟ้มข้อมูล

  1. ฟังก์ชัน feof()
  2. ฟังก์ชัน fseek()
  3. ฟังก์ชัน ftell()
  4. ฟังก์ชัน fclose()
   
14. ข้อใดคือ ฟังก์ชันที่ใช้ในการลบไฟล์ในภาษาซี
  1. ฟังก์ชัน delete()
  2. ฟังก์ชัน exit()
  3. ฟังก์ชัน remove()
  4. ฟังก์ชัน fclose ()
   
15. ลำดับชั้นข้อมูลใด จะต้องเอามาแปลงให้อยู่ในรูปของเลขฐานสองก่อน คอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจและทำงานตามที่ต้องการได้
  1. บิต (Bit)
  2. ไบต์ (Byte)
  3. ฟิลด์ (Field)
  4.เรคอร์ด (Record)
   
16. ข้อใดต่อไปนี้เป็นนามสกุลของชนิดของแฟ้มข้อมูล เท็กซ์ไฟล์ (Text Files)
  1.  .doc
  2.  .exe
  3.  .gif
  4.  .txt
   
17. ข้อใดต่อไปนี้เป็นนามสกุลของชนิดของแฟ้มข้อมูล ไบนารีไฟล์ (Binary Files)
  1.  .php
  2.  .exe
  3.  .c
  4.  .txt
   
18. ข้อใดคือ รูปแบบของคำสั่งการปิดแฟ้มข้อมูล
  1.  remove(“ชื่อไฟล์”);
  2. fpt = fopen("c:/myfile.txt" , "w")
  3. fopen(fpt);
  4. fclose(fpt);
   
19. ข้อใดคือเครื่องหมายลงท้ายคำสั่งต่างๆ ในภาษา C
  1.  เครื่องหมาย ; (semi-colon)
  2. เครื่องหมาย  : (colon)
  3. เครื่องหมาย  # (directive)
  4. เครื่องหมาย  , (comma)
   

20. จากคำสั่งที่กำหนด ตำแหน่งใดทำหน้าที่เป็นตัวแปรไฟล์พอยน์เตอร์

  1.  fopen();
  2. “w”
  3. *fpt
  4. “c:/myfile.txt”
   

 

<< Go Back