<< Go Back

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้
ภาษาเยอรมัน 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 เวลา 100 ชั่วโมง จำนวน 2.5 หน่วยกิต

สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร
     มาตรฐาน ต 1.1   
เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล

ลำดับ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1 ต 1.1 ม.6/2 - ข้อความ ข่าว ประกาศ โฆษณา บทร้อยกรอง บทละครสั้น
- หลักการอ่านออกเสียง
2 ต 1.1 ม.6/4 - เรื่องที่เป็นสารคดีและบันเทิงคดี
- การจับใจความสำคัญ การวิเคราะห์ความ การสรุปความ การตีความ
- ประโยคที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น การให้เหตุผล และการยกตัวอย่าง
- กลยุทธ์การอ่าน

  

     มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ

ลำดับ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1 ต 1.2 ม.6/1 - ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคล การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เรื่องใกล้ตัว สถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน การสนทนา/เขียนข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและบุคคลใกล้ตัว ประสบการณ์ สถานการณ์ต่างๆ ข่าว/ เหตุการณ์ ประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคม
2 ต 1.2 ม.6/3 - ภาษาที่ใช้ในการแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความ ช่วยเหลือในสถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์จริงอย่างเหมาะสม
3 ต 1.2 ม.6/4 - คำศัพท์ สำนวนภาษา ประโยค และข้อความที่ใช้ในการขอและให้ข้อมูล บรรยาย อธิบาย เปรียบเทียบ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง ประเด็น/ข่าว/ เหตุการณ์ที่ฟังและอ่าน

 

     มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน

ลำดับ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1 ต 1.3 ม.6/1 - การนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ประสบการณ์ ข่าว/เหตุการณ์ เรื่องและประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคม เช่น การเดินทาง การรับประทานอาหาร การเล่นกีฬา/ดนตรี การดูภาพยนตร์ การฟังเพลง การเลี้ยงสัตว์ การอ่านหนังสือ การท่องเที่ยว การศึกษา สภาพสังคม เศรษฐกิจ

 

สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
     มาตรฐาน ต 2.1   
เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาและนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ

ลำดับ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1 ต 2.1 ม.6/1 - การเลือกใช้ภาษา น้ำเสียง และกิริยาท่าทางในการสนทนา ระดับของภาษา ตามมารยาทสังคมและ วัฒนธรรมเยอรมัน เช่น การขอบคุณ ขอโทษ การชมเชย การใช้สีหน้าท่าทางประกอบการพูดขณะแนะนำตนเอง การสัมผัสมือ การโบกมือ การแสดง ความรู้สึกชอบ/ไม่ชอบ การกล่าวอวยพร การแสดง อาการตอบรับหรือปฏิเสธ
2 ต 2.1 ม.6/2 - วิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ และที่มาของขนบธรรมเนียม และประเพณีของชาวเยอรมัน
3 ต 2.1 ม.6/3 - กิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมเยอรมัน เช่น การเล่นเกม การร้องเพลง การเล่านิทาน/เรื่องจาก ภาพยนตร์ บทบาทสมมติ ละครสั้น วันอีสเตอร์ วันคริสต์มาส วันขึ้นปีใหม่ วันวาเลนไทน์

<< Go Back