สามร้อยปีก่อน Charles Messier นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสพยายามมองหาดาวหางดวงใหม่ๆ เขาทำการสำรวจท้องฟ้าจนทั่วและได้ทำลิสต์วัตถุบนท้องฟ้าที่ไม่ใช่ดาวหางไว้เพื่อจะได้ไม่ต้องมาหาซ้ำ โดยไล่ตั้งแต่ M1 ไปจนถึง M110 (รูป 1)
หนึ่งในนั้นมีวัตถุหนึ่งที่ปรากฏฝ้ามัวๆอยู่ในกลุ่มดาวแอนโดรเมดา เขาเรียกมันว่า M31 โดยที่ไม่รู้เลยว่าฝ้ามัวๆนั้นในเวลาต่อมาได้กลายเป็นกุญแจสำคัญที่ใช้เปิดความเข้าใจเอกภพได้อย่างกว้างขวาง
ภาพที่ 1
นักดาราศาสตร์กระแสหลักในยุคก่อนปี 1900 เชื่อว่าดาวฤกษ์ทุกดวง, ดาวเคราะห์ทุกดวง และทุกสิ่งที่เห็นกันอยู่บนท้องฟ้าล้วนอยู่ในกาแล็กซีทางเผือก และนั่นคือเอกภพหมดแล้ว นักดาราศาสตร์ในยุคนั้นจึงเชื่อว่าฝ้าที่ปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวแอนโดรเมดานั้น คือ กลุ่มแก๊สและฝุ่น ที่อยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา จึงเรียกมันว่า เนบิวลาแอนโดรเมดา
ต่อมา นักดาราศาสตร์อเมริกัน นาม Heber Curtis ทำการสังเกตเนบิวลาแอนโดรเมดาแล้วพบว่ามีการระเบิดของดาวฤกษ์(nova)ภายในเนบิวลาแอนโดรเมดามากกว่า 11 แห่งซึ่งแต่ละแห่งล้วนแล้วแต่ปรากฏว่ามีความสว่างต่ำมาก ทำให้เขาคำนวณหาระยะห่างของเนบาลาแอนโดรเมดาจากโลกได้ประมาณ 5 แสนปีแสงซึ่งเป็นระยะทางที่ไกลกว่าขอบเขตกาแล็กซีทางช้างเผือกมาก เขาเชื่อว่าเนบิวลาแอนโดรเมดานั้น แท้จริงแล้วเป็นกาแล็กซีที่มีดาวฤกษ์มากมายมหาศาลที่อยู่ภายนอกนอกกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา
นักดาราศาสตร์อเมริกัน นาม Heber Curtis
ถ้าสมมติฐานดังกล่าวเป็นจริง ก็เท่ากับว่าขนาดของเอกภพที่เคยเชื่อถือกันมาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก กาแล็กซีทางช้างเผือกจากที่เคยเป็นเอกภพทั้งหมดจะกลายเป็นเพียงหนึ่งในกาแล็กซีที่อาจมีอยู่มากมายในเอกภพอันไพศาล
ในขณะนั้นสุดยอดนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันผู้มีนามว่า Harlow Shapley ได้โต้แย้งสมมติฐานดังกล่าวเพราะเขาเชื่อว่าเนบิลาแอนโดรเมดาอยู่ภายในกาแล็กซีทางช้างเผือก การโต้เถียงด้วยเหตุผลระหว่างสองนักดาราศาสตร์ได้กลายเป็นการถกเถียงครั้งใหญ่ทางดาราศาสตร์ที่เรียกว่า the Great Debate ประเด็นคือ ตอนนั้นสองนักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ไม่มีใครยอมใคร ทว่าข้อสรุปก็เกิดขึ้นหลังจากนั้นไม่นาน โดยสุดยอดนักดาราศาสตร์ผู้มีนามว่า เอ็ดวิน ฮับเบิล (Edwin Hubble) เขาเป็นนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันผู้เปลี่ยนแปลงขอบเขตของเอกภพ ด้วยการใช้กล้องโทรทรรศน์ Hooker แห่งหอดาวดาววิลสัน( Mount Wilson Observatory) ทำการสังเกตเนบิวลาแอนโดรเมดาแล้วพบว่าภายในนั้นมีดาวฤกษ์แปรแสงชนิดเซฟีด ( Cepheid) อยู่ 12 ดวงและเมื่อนำมาคำนวณหาระยะห่างแล้ว พบว่ามันอยู่ห่างจากโลกเราถึง 900,000 ปีแสง ซึ่งไกลเกินกว่าขอบเขตของกาแล็กซีทางช้างเผือกอย่างชัดเจน
|
|
Harlow Shapley |
เอ็ดวิน ฮับเบิล (Edwin Hubble) |
กล้องโทรทรรศน์ Hooker แห่งหอดาวดาววิลสัน( Mount Wilson Observatory)
ปัจจุบัน นักดาราศาสตร์พบว่าว่ากาแล็กซีแอนโดรเมดา อยู่ห่างจากโลกของเรามากถึง 2.5 ล้านปีแสง! ซึ่งเท่ากับว่าเอกภพแท้จริงนั้นใหญ่กว่าที่เคยเชื่อถือกันมามาก ดังนั้นภาพกาแล็กซีที่เราเห็นในวันนี้จึงเป็นภาพเมื่อ 2.5 ล้านปีก่อน หากในกาแล็กซีแอนโดนเมดามีสิ่งมีชีวิตและสามารถมองมายังโลกเราได้ พวกเขาจะไม่เห็นพวกเรา แต่จะเห็นมนุษย์ในยุคหินเมื่อ 2.5 ล้านปีก่อน กาแล็กซีแอนโดรเมดา ปรากฏเป็นฝ้าสลัวๆในกลุ่มดาวแอนโดรเมดา มันมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าจันทร์เต็มดวงบนท้องฟ้าราว 4-6 เท่าและเป็นวัตถุไกลที่สุดที่มนุษย์เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
ฝ้าสลัวๆในกลุ่มดาวแอนโดรเมดา
|
|
ภาพที่มองผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก |
ภาพจากกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล |
http://www.narit.or.th/index.php/nso/2450-andromeda-article
|