เพื่อให้นักเรียนสามารถรู้วิธีการศึกษา สำรวจและสังเกตซากดึกดำบรรพ์ในธรรมชาติได้ 1. วีดีทัศน์เกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ต่างๆ ที่พบในประเทศไทย (กรณีไม่สามารถออกภาคสนามได้) 1. ครูพานักเรียนศึกษานอกสถานที่ในกรณีที่โรงเรียนอยู่ใกล้แหล่งที่พบซากดึกดำบรรพ์ต่างๆ เช่น ซากไดโนเสาร์ ซากพืช ซากสัตว์ทะเลต่างๆ แต่ถ้าไม่สามารถไปศึกษานอกสถานที่ได้ให้ศึกษาจากวีดีทัศน์ ผลการทดลอง ได้จากการบันทึกลักษณะของซากดึกดำบรรพ์ที่พบ และลักษณะโครงสร้างทางธรณีสัณฐานบริเวณที่พบซากดึกดำบรรพ์นั้น ๆ สรุปได้ว่า ซากดึกดำบรรพ์เกิดจากการที่ซากหรือร่องรอยของพืช หรือสัตว์ถูกทับถมและฝังตัวอยู่ในชั้นหินจนกระทั่งกลายเป็นหิน ดังนั้น ถ้าสามารถนำซากดึกดำบรรพ์นั้นมาหาอายุสัมบูรณ์ หรือหาอายุเปรียบเทียบกับซากดึกดำบรรพ์ดัชนีได้ ก็สามารถที่จะเทียบสัมพันธ์หาอายุของชั้นหินที่พบซากดึกดำบรรพ์นั้น หรือายุของหินบริเวณข้างเคียงนั้นได้ ซึ่งนักเรียนสามารถศึกษาและเทียบหาอายุได้จากตารางธรณีกาลในหนังสือเรียนได้ นอกจากนี้ซากดึกดำบรรพ์แต่ละชนิดสามารถบอกสภาพสิ่งแวดล้อมในอดีตที่ซากดึกดำบรรพ์ชนิดนั้นดำรงชีวิตอยู่ได้ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันพื้นที่บริเวณดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วก็ตาม แต่ร่องรอยที่บันทึกอยู่ในหินบริเวณนั้น สามารถเป็นกุญแจไขไปสู่อดีตได้เราสามารถทราบได้ว่าสิ่งมีชีวิตสมัยนั้นมีการดำรงชีวิตอย่างไร มีสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างไร ร้อน อบอุ่น หรือหนาว
|