<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถสืบค้นและสำรวจหินภูเขาไฟในประเทศไทย
2. สังเกต รวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปคาดคะเนหรือจินตนาการเกี่ยวกับภูเขาไฟในอดีต ณ บริเวณที่สำรวจ
3. เพื่อฝึกนักเรียนให้เกิดทักษะในวิธีการสำรวจ และการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่

1. ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งหินภูเขาไฟที่นักเรียนรวบรวมได้จากการสำรวจ
2. อุปกรณ์ที่จำเป็นในการเดินทางสำรวจหินภูเขาไฟ เช่น เข็มทิศ , แผนที่ , รองเท้าผ้าใบ , หมวก เป็นต้น
3. แว่นขยาย
4. แบบบันทึกข้อมูล

ตัวอย่างอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเดินทางสำรวจหินภูเขาไฟ

1. สืบค้นข้อมูลจากรายงานของ กรมทรัพยากรธรณี และทรัพยากรธรณีเขต ในแต่ละจังหวัด เกี่ยวกับแหล่งหินภูเขาไฟที่พบในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย
2. สำรวจหินภูเขาไฟในแหล่งที่ใกล้ที่สุดโดยสังเกตและบันทึกลักษณะ ชนิดของหินภูเขาไฟที่พบ พร้อมทั้งวาดภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในบริเวณนั้น ๆ
3. นำข้อมูลที่ได้มาอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับร่องรอยการเกิดหินภูเขาไฟบริเวณที่ออกสำรวจและลักษณะของพื้นที่บริเวณนั้น

1. ในการศึกษาภาคสนามนักเรียนจะได้สังเกตเห็นร่องรอยภูเขาไฟจากหินภูเขาไฟในบริเวณดังกล่าว นักเรียนสามารถสังเกตลักษณะของเนื้อหินด้วยตาเปล่าและแว่นขยาย ได้เห็นโครงสร้างทางธรณีสัณฐานที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
2. นักเรียนบันทึกข้อมูลอย่างละเอียด และนำกลับไปอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียนในประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมบริเวณดังกล่าวในอดีตมีลักษณะอย่างไร
3. นักเรียนเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมบริเวณที่สำรวจกับสิ่งมีชีวิตที่พบในบริเวณนั้น พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับบริเวณอื่นๆ ที่ไม่พบหินภูเขาไฟ

ดังนั้นสรุปได้ว่า ถ้าบริเวณที่สำรวจพบว่าเป็นหินภูเขาไฟที่มีเนื้อละเอียดแน่นแข็ง ได้แก่ หินแอนดีไซต์ หรือ หินไรโอไลต์ และพบเป็นแนวบริเวณกว้าง แสดงว่าบริเวณนั้นในอดีตอาจมีลาวา ไหลหลากออกมาตามรอยแตกของแผ่นเปลือกโลก แต่ถ้าพบว่าเป็นหินภูเขาไฟที่มีลักษณะเป็นรูพรุนเบา (หินสคอเรีย) ทับถมหรือปะปนอยู่บนหินภูเขาไฟที่มีเนื้อแน่นมีรูพรุน (หินบะซอลต์) ที่เป็นเช่นนี้ เพราะในขณะที่ภูเขาไฟระเบิดลาวาที่ไหลออกมาจะทับถมและแข็งตัวเป็นหินบะซอลต์อยู่ชั้นล่าง ส่วนฝุ่นละอองและไอน้ำที่ถูกพ่นอยู่ในอากาศจะตกลงมาทับถมเป็นหินสคลอเรียอยู่ชั้นบน แสดงว่า ในอดีตบริเวณนั้นเคยมีภูเขาไฟและมีการระเบิดหลายครั้ง ซึ่งสังเกตได้จากแนวการไหลของหินภูเขาไฟที่พบบริเวณอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

<< Go Back