(อังกฤษ: Pacific Ocean - ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea - จากภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข") คือ ผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก กินพื้นที่ประมาณ 180 ล้านตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร(35,798 ฟุต)
มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติก
มหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่ผิวประมาณ 70,722,600 ตารางไมล์ ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว)
มหาสมุทรแปซิฟิก
ที่มาภาพ : https://oceanmaker.weebly.com/
สาเหตุใดบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก จึงเกิดแผ่นดินไหวบ่อย
1. ทฤษฎีที่ว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก (dilation source theory) แผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการ คดโค้งโก่งงออย่างเฉียบพลัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว
2. ทฤษฎีที่ว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ (elastic rebound theory) แผ่นดินไหวเกิดจากการสั่นสะเทือนอันเป็นเหตุผลมาจาก การเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน (fault) ดังนั้น เมื่อเกิดการเคลื่อนที่ถึงจุดจุดหนึ่งวัตถุจึงขาดออกจากกัน และเสียรูปอย่างมากพร้อมกับการปลดปล่อยพลังงานออกมา และหลังจากนั้นวัตถุก็คืนตัวกลับสู่รูปเดิม ทฤษฎีนี้สนับสนุนแนวความคิดที่ว่า แผ่นดินไหวมีกลไกการ กำเนิดเกี่ยวข้องโดยตรงและใกล้ชิดกับรอยเลื่อนที่มีพลัง (active fault) ที่เกิดขึ้นจากผลพวงของการแปรสัณฐานของเปลือกโลก (plate tectonics)
ร้อยละ 80 ของแผ่นดินไหวทั่วโลก เกิดขึ้นรอบๆมหาสมุทรแปซิฟิก เนื่องจากในบริเวณดังกล่าวมีจุดที่เกิดแผ่นดินไหว และการระเบิดของภูเขาไฟบ่อยครั้งมาก โดยเฉพาะบริเวณขอบมหาสมุทรแปซิฟิกที่เรียก ว่า วงแหวนไฟ (Ring of Fire) ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ด้านตะวันตกของประเทศเม็กซิโก และด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา
“วงแหวนแห่งไฟ” นั้นเป็นบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหว และ “ภูเขาไฟระเบิด” บ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร ประมาณการว่า 90% ของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลก และกว่า 80% ของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ เกิดขึ้นในบริเวณ “วงแหวนแห่งไฟ” เป็นส่วนหนึ่งจากเนื้อหาที่มีการระบุไว้ใน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีโดยสังเขปคือ… วงแหวนแห่งไฟ นั้นเป็นบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหว และ “ภูเขาไฟระเบิด” บ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร วางตัวตามแนวร่องสมุทร แนวภูเขาไฟ และบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก โดย มีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายใน “วงแหวนแห่งไฟ” ทั้งหมด 452 ลูกและเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกกรุ่นอยู่เป็นจำนวนมาก มากในระดับกว่า 75% ของภูเขาไฟที่คุกรุ่นทั้งโลก
วงแหวนแห่งไฟ
ที่มาภาพ : https://suriluk.wordpress.com/2013/02/19/วงแหวนแห่งไฟ/
https://sites.google.com/site/daochalongkhow/45-khatham-phumi-sastr/40
https://oceanmaker.weebly.com/361736273634362636173640360736193649361135953636361536363585.html
|