โอห์มมิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดที่สร้างขึ้นมาเพื่อวัดอุปกรณ์เฉพาะความต้านทาน และมีประโยชน์ต่อเนื่องไปถึงการวัดอุปกรณ์อื่นๆ ได้ด้วย เช่น วัดการตัดต่อของสวิตซ์ หน้าสัมผัสต่าง ๆ ตลอดจนวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ว่าดี , เสียได้ด้วย
การวัดความต้านทานสามารถทำได้โดยใช้วิธีการวัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวความต้านทาน (R) ซึ่งไม่ทราบค่า และวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ตกคร่อมตัวความต้านทาน (R) แล้ว เราก็จะหาความต้านทาน (R) ได้โดยใช้กฏของโอห์ม (Ohm's Law)
ประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 อย่างคือ ดาร์สันวาล์มิเตอร์ แบตเตอรี ( ถ่านไฟฉาย ) และตัวต้านทานปรับค่าได้ โดยนำอุปกรณ์ 3 ส่วนดังกล่าวมาต่อวงจรจะได้โอห์มมิเตอร์ขึ้นมา และปรับแต่งสเกลหน้าปัดให้บอกค่าโอห์ม โอห์มมิเตอร์แบ่งลักษณะการต่อวงจรออกเป็น 3 แบบ ด้วยกันคือ
1. โอห์มมิเตอร์แบบอันดับ คือ โอห์มมิเตอร์ที่มีตัวต้านทานไม่ทราบค่าที่ต้องการวัดต่อเป็นอันดับกับขดลวดเคลื่อนที่ของมิเตอร์ สภาวะการบ่ายเบนของเข็มมิเตอร์จะขึ้นอยู่กับขนาดของความต้านทานที่ไม่ทราบค่า ถ้าขนาดความต้านทานไม่ทราบค่าสูง จะจำกัดกระแสให้ผ่านขดลวดเคลื่อนที่น้อย ถ้าขนาดความต้านทานไม่ทรายค่าต่ำ จะจำกัดกระแสให้ผ่านขดลวดเคลื่อนที่มาก ผลดังกล่าวเข็มมิเตอร์จะชี้ค่าความต้านทานออกมา การเปลี่ยนสเกลหน้าปัดของมิเตอร์ให้เป็นหน้าปัดของมิเตอร์ให้เป็นสเกลของโอห์มมิเตอร์ ทำได้โดยใช้ตัวต้านทานมีค่าความต้านทานต่างๆ แทนค่าลงในสมการ คำนวณค่าออกมาเป็นกระแสในค่าต่างๆ กำหนดค่าความต้านทานลงตามกระแสที่คำนวณได้ ก็จะได้สเกลของโอห์มมิเตอร์แบบอันดับตามที่ต้องการ
2. โอห์มมิเตอร์แบบขนาน เป็นโอห์มมิเตอร์ที่วัดค่าความต้านทานค่าต่ำ ๆ ได้ดี จากผลของการต่อความต้านทานไม่ทราบค่าขนานกับมิเตอร์นั่นเอง ในทำนองเดียวกันการต่อตัวต้านทานทราบค่าต่ำๆ ขนานกับมิเตอร์ ก็สามารถนำโอห์มมิเตอร์ไปวัดความต้านทานต่ำได้เช่นกัน และสามารถเปลี่ยนค่าความต้านทานของมิเตอร์ ได้ ทำให้สามารถวัดค่าความต้านทานได้กว้าง เรียกโอห์มมิเตอร์แบบนี้ว่า "โอห์มมิเตอร์แบบปรับแรงดัน" โดยอาศัยตัวต้านทานขนานค่าต่ำที่ต่อร่วมกับตัวต้านทานที่ต้องการวัดค่า ต่อร่วมเป็นวงจรแบ่งแรงดัน ผลการแบ่งแรงดันจะทำให้มีแรงดันไฟตรงตกคร่อมขดลวดเคลื่อนที่ของมิเตอร์เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้มีกระแสไหลผ่านขดลวด เคลื่อนที่เปลี่ยนไปเกิดการบ่ายเบนที่เปลี่ยนแปลง เมื่อทำการเปลี่ยนแปลงสเกลหน้าปัดให้เป็นสเกลโอห์มมิเตอร์ ก็สามารถอ่านค่าความต้านทานที่ทำการวัดได้ สเกลของโอห์มมิเตอร์แบบขนานจะตรงข้ามกับสเกลของโอห์มมิเตอร์แบบอันดับคือ มีโอห์มอยู่ทางซ้ายมือ และมีอินฟีนิตี้โอห์มอยู่ทางขวามือ
3. โอห์มมิเตอร์แบบปรับแบ่งแรงดัน ความจริงมีโครงสร้างมาจากโอห์มมิเตอร์แบบอันดับ โดยทำการดัดแปลงส่วนประกอบวงจร คือ เพิ่มตัวต้านทานค่าต่ำขนานกับมิเตอร์ ดังนั้นสเกลของโอห์มมิเตอร์แบบนี้ จะมีสเกลเหมือนกับโอห์มมิเตอร์แบบอันดับ คือ 0 โอห์ม จะอยู่ทางขวามือ และ อินฟินิตี้ จะอยู่ทางซ้ายมือ
4. โอห์มมิเตอร์แบบหลายย่านวัด คือโอห์มมิเตอร์ที่วัดค่าความต้านทานได้กว้าง ตั้งแต่ค่าต่ำไปหาค่าสูง โดยอาศัยหลักการของโอห์มมิเตอรแบบปรับแรงดันย่านวัดถูกสร้างให้เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ 1 เท่า, 10 เท่า, 100 เท่า, 1,000 เท่า ฯลฯ ส่วนสำคัญของโอห์มมิเตอร์หลายย่านวัดคือ จะต้องใช้สเกลการวัดค่าเพียงสเกลเดียว การกำหนดค่าสเกลจะต้องมองที่ย่านกลางสเกลของโอห์มมิเตอร์ย่านต่ำสุด
ที่มาของภาพ :
https://tungelectronic.wordpress.com/tag/โอห์มมิเตอร์/
https://writer.dek-d.com/gcml/story/viewlongc.php?id=353607&chapter=5
|