แอมป์มิเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้า ซึ่งดัดแปลงจากการนำความต้านทานที่มีค่าน้อยๆ มาต่อขนาน เพื่อแบ่งกระแสไม่ให้ไหลผ่านแกลแวนอมิเตอร์มากเกินไป จนทำให้แกลแวนอมิเตอร์พังได้
เมื่อเราต้องการวัดกระแสที่มีค่ามากทำได้ดังนี้
1. นำความต้านทานต่อขนานกับแกลแวนอมิเตอร์
2. ความต้านทานต้องมีค่าน้อยๆ เพื่อให้กระแสมีความต้านทานมากๆ เพื่อช่วยลดกระแสที่จะไหลผ่านแกลแวนอมิเตอร์
1. มีความแม่นยำสูง ซึ่งเกิดจากความต้านทานน้อยๆ มาต่อ เพื่อว่าเมื่อนำแอมมิเตอร์ไปต่ออนุกรมในวงจรแล้ว จะไม่ทำให้ความต้านทานรวมของวงจรเปลี่ยนแปลง ทำให้กระแสที่วัดได้มีความแม่นยำสูง หรือมีความผิดพลาดจากการวัดน้อย
2. มีความไวสูงเมื่อความต้านทานมีค่าน้อย กระแสที่ไหลผ่านจะมีค่ามาก ทำให้กระแสที่ไหลผ่านแกลแวนอมิเตอร์มีค่าน้อย นั่นคือแอมมิเตอร์ที่ดีจะสามารถตรวจวัดค่ากระแสน้อยได้ กล่าวคือถึงแม้วงจรจะมีกระแสไหลน้อยแอมมิเตอร์ก็สามารถวัดค่าได้
ใช้แอมมิเตอร์ไปต่ออนุกรมในวงจรในสายที่ต้องการทราบค่ากระแสที่ไหลผ่าน เหมือนกับการวัดกระแสน้ำ ก็ต้องนำเครื่องมือวัดไปจุ่มลงน้ำด้วย
การต่อแอมมิเตอร์ที่ถูกต้อง นอกจากจะต้องต่ออนุกรมเข้ากับวงจรแล้ว เราจะต้องต่อด้านบวก (ปุ่มสีแดง) ของแอมมิเตอร์เข้ากับขั้วบวกของเซลล์ไฟฟ้า และด้านลบ (ปุ่มสีดำ) ของแอมมิเตอร์เข้ากับขั้วลบของเซลล์ไฟฟ้า จึงจะทำให้ผลการวัดเป็นไปอย่างถูกต้อง และถ้าเราต่อกับด้านแล้วเข็มของแอมมิเตอร์จะเบนไปทางด้านที่ต่ำกว่าศูนย์ ซึ่งไม่สามารถอ่านค่าได้
https://umapon29.wordpress.com/2012/02/14/แอมมิเตอร์-ammeter/
|