1. เพื่อให้นักเรียนสามารถเขียนภาพการเรียงตัวของผงเหล็กรอบแท่งแม่เหล็ก จากการโรยผงเหล็กบนกระดาษขาวที่วางอยู่บนแท่งแม่เหล็ก
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถเขียนแผนภาพเส้นสนามแม่เหล็กของแท่งแม่เหล็ก 2 แท่ง ที่วางในลักษณะต่างๆ กัน
3. เพื่อให้นักเรียนสามารถหาเส้นสนามแม่เหล็กของแท่งแม่เหล็กโดยใช้เข็มทิศ
1. แท่งแม่เหล็กขั้วอยู่ปลายแท่ง 2 แท่ง |
2. ผงเหล็ก |
3. กระดาษขาว |
|
1. วางกระดาษบนแท่งแม่เหล็ก
2. โรยผงเหล็กบนกระดาษขาวที่วางบนแท่งแม่เหล็ก สังเกตและบันทึกภาพที่เกิดขึ้น
3. วางกระดาษบนแท่งแม่เหล็ก 2 แท่ง โดย
ก. หันขั้วชนิดเดียวกันเข้าหากัน
ข. หันขั้วต่างชนิดเข้าหากัน
ค. วางขนานและหันขั้วชนิดเดียวกันไปทางเดียวกัน
ง. วางขนานและหันขั้วต่างชนิดเข้าหากัน
จากนั้น สังเกตและบันทึกภาพที่เกิดขึ้น
ผลการทดลองที่ได้ คือ
1. การเรียงตัวของผงเหล็กรอบแท่งแม่เหล็ก 1 แท่ง
2. ลักษณะเส้นสนามแม่เหล็กของแท่งแม่เหล็ก 2 แท่งที่วางในลักษณะต่างๆ
ก. หันขั้วชนิดเดียวกันเข้าหากัน
ข. หันขั้วต่างชนิดเข้าหากัน
ค. วางขนานและหันขั้วชนิดเดียวกันไปทางเดียวกัน
ง. วางขนานและหันขั้วต่างชนิดเข้าหากัน
3. การหาเส้นสนามแม่เหล็กโดยใช้เข็มทิศ ได้ผลลัพธ์คือ เมื่อวางเข็มทิศในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กของแท่งแม่เหล็กแท่งหนึ่ง แนวการวางตัวของเข็มทิศจะอยู่ในแนวของแรงลัพธ์ที่แท่งแม่เหล็กนั้นกระทำต่อเข็มทิศเสมอ
สรุปได้ว่า
1. การเรียงตัวของผงเหล็กจะเรียงต่อกันจากขั้วแม่เหล็กขั้วหนึ่งไปอีกขั้วหนึ่ง ส่วนบริเวณตรงปลายขั้วจะเรียงตัวกันเป็นแนวจากปลายขั้วออกไปหลายแนว ซึ่งจะเหมือนกันทั้งสองขั้ว ผู้สอนให้ความรู้ว่าแนวการเรียงตัวของผงเหล็กรอบๆ แท่งแม่เหล็ก เรียกว่า
“ เส้นสนามแม่เหล็ก ” และจะเห็นว่าเส้นสนามแม่เหล็กมีความหนาแน่นมากที่บริเวณขั้วแม่เหล็กทั้ง N และ S
2. ลักษณะของเส้นสนามแม่เหล็กของแท่งแม่เหล็ก 2 แท่งที่วางในลักษณะต่างๆ
ก. หันขั้วชนิดเดียวกันเข้าหากันเส้นสนามแม่เหล็กรอบๆ แท่งแม่เหล็กแต่ละแท่งจะเป็นลักษณะเดียวกับข้อ 1 ยกเว้นบริเวณระหว่างขั้วชนิดเดียวกันทั้งสอง จะไม่มีเส้นสนามแม่เหล็ก
ข. หันขั้วต่างชนิดกันเข้าหากันเส้นสนามแม่เหล็กรอบๆ แท่งแม่เหล็กแต่ละแท่งจะเป็นลักษณะเดียวกับข้อ 1 ส่วนบริเวณระหว่างขั้วต่างชนิดกันมีเส้นสนามแม่เหล็กโยงหากัน
ค. วางขนานและหันขั้วชนิดเดียวกันไปทางเดียวกันเส้นสนามแม่เหล็กรอบๆ แท่งแม่เหล็กแต่ละแท่งจะเป็นลักษณะเดียวกับข้อ 1 ส่วนบริเวณระหว่างขั้ว N กับขั้ว N และขั้ว S กับขั้ว S จะมีบริเวณหนึ่งที่ไม่มีเส้นสนามแม่เหล็ก
ง. วางขนานและหันขั้วต่างชนิดเข้าหากัน เส้นสนามแม่เหล็กรอบๆ แท่งแม่เหล็กแต่ละแท่งจะเป็นลักษณะเดียวกับข้อ 1 ส่วนบริเวณระหว่างขั้ว N กับขั้ว S ทั้ง 2 คู่ เส้นสนามแม่เหล็กจะโยงจากขั้วหนึ่งไปหาอีกขั้วหนึ่ง
|
|