<< Go Back

แอมมิเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้า ซึ่งดัดแปลงจากการนำความต้านทาน (ชันต์) ที่มีค่าน้อยๆ มาต่อขนานกัลแกลแวนอมิเตอร์ เพื่อแบ่งกระแสไม่ให้ไหลผ่านแกลแวนอมิเตอร์มากเกินไป จนทำให้แกลแวนอมิเตอร์พังได้ เมื่อเราต้องการวัดกระแสที่มีค่ามากๆ
เมื่อเราต้องการวัดกระแสที่มีค่ามาก ทำได้ดังนี้
1. นำความต้านทานต่อขนานกับแกลแวนอมิเตอร์
2. ความต้านทานต้องมีค่าน้อยๆ เพื่อให้กระแสมีความต้านทานมากๆ เพื่อช่วยลดกระแสที่จะไหลผ่านแกลแวนอมิเตอร์

1. มีความแม่นยำสูง ซึ่งเกิดจากการนำชันต์ที่มีความต้านทานน้อยๆ มาต่อ เพื่อว่าเมื่อนำแอมมิเตอร์ไปต่อ อนุกรมในวงจรแล้ว จะไม่ทำให้ความต้านทานรวมของวงจรเปลี่ยนแปลง ทำให้กระแสที่วัดได้มีความแม่นยำ สูง หรือมีความผิดพลาดจากการวัดน้อย
2. มีความไว (Sensitivity) สูง เมื่อชันต์มีค่าน้อยๆ กระแสที่ไหลผ่านชันต์ จะมีค่ามาก ทำให้กระแสที่ไหล ผ่านแกลแวนอมิเตอร์ มีค่าน้อย นั่นคือ แอมมิเตอร์ที่ดีจะสามารถตรวจวัดค่ากระแสน้อยๆ ได้ กล่าวคือ แม้ วงจรจะมีกระแสไหลเพียงเล็กน้อย แอมมิเตอร์ก็สามารถวัดค่าได้

การต่อแอมมิเตอร์ที่ถูกต้อง นอกจากจะต้องต่ออนุกรมเข้ากับวงจรแล้ว เราจะต้องต่อด้านบวก (ปุ่มสีแดง) ของแอมมิเตอร์เข้ากับขั้วบวกของเซลล์ไฟฟ้า และด้านลบ (ปุ่มสีดำ) ของแอมมิเตอร์เข้ากับขั้วลบของเซลล์ไฟฟ้า จึงจะทำให้ผลการวัดเป็นไปอย่างถูกต้อง และถ้าเราต่อกับด้านแล้วเข็มของแอมมิเตอร์ จะเบนไปทางด้านที่ต่ำกว่าศูนย์ ซึ่งไม่สามารถอ่านค่าได้

https://umapon29.wordpress.com/2012/02/14/แอมมิเตอร์-ammeter/

<< Go Back