<< Go Back

ความต่างศักย์ (Potential difference) คือ ปริมาณในฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับปริมาณพลังงานในการย้าย วัตถุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุด โดยต้านแรงที่มากระทำ คำนี้มักใช้เป็นคำย่อของคำว่า ความต่างศักย์ไฟฟ้า (electrical potential difference) กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า ความต่างศักย์ คือ ความแตกต่างของปริมาณหนึ่ง ระหว่างจุดสองจุดในสนามเวกเตอร์อนุรักษ์
ตัวอย่างเช่น
- ในกลศาสตร์ ความต่างศักย์โน้มถ่วง ระหว่างจุดสองจุดบนโลกเกี่ยวข้องกับพลังงาน ในการย้ายวัตถุจาก จุดหนึ่งไปยังอีกจุดภายใต้สนามโน้มถ่วงของโลก มีหน่วยเป็น จูลต่อกิโลกรัม
- ในวิศวกรรมไฟฟ้า ความต่างศักย์ไฟฟ้า คือ พลังงานในการย้ายประจุไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดภายใต้ สนามไฟฟ้าสถิต มีหน่วยเป็น จูลต่อคูลอมบ์ หรือ โวลต์
- ในระบบของไหล ความต่างศักย์ คือ ความแตกต่างของความดัน มีหน่วยเป็น พาสคัล
- ในระบบอุณหภูมิ ความต่างศักย์ คือ ความแตกต่างของอุณหภูมิ มีหน่วยเป็น เคลวิน

1. การวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสสลับ
การวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสสลับ ไม่จําเป็นต้องให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านทางขั้วบวกเหมือนไฟฟ้ากระแสตรง เพราะไฟฟ้ากระแสสลับไม่มีขั้วตายตัว ขั้วแรงดันจะสลับไปสลับมาตลอดเวลา กล่าวคือสามารถต่อโดยให้สายวัดเส้นใดอยู่ข้างใดก็ได้ แต่วิธีวัดค่ายังใช้หลักการเดียวกันกับโวลต์มิเตอร์กระแสตรง ก่อนที่จะนํามัลติมิเตอร์ไปวัดค่า ต้องทําการปรับมัลติมิเตอร์ให้เป็นโวลท์มิเตอร์กระแสสลับ
จากนั้นเลือกช่วงการวัดให้เหมาะสม โดยหมุนสวิทช์บนตัวมิเตอร์ ไปที่ตําแหน่งช่วงการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง (ACV) (หมายเลขอ้างอิง 10) ซึ่งมี 4 ช่วงการวัดคือ 0-10V, 0-50V, 0-250V, 0-1000V
ลำดับขั้นการใช้เอซีโวลต์มิเตอร์
1. ต่อเอซีโวลต์ในขณะวัดค่าแรงดันคร่อมขนานกับโหลด
2. ตั้งย่านใช้งานของมิเตอร์ในย่าน ACV
3. ปรับสวิตช์ตั้งย่านการวัดให้ถูกต้อง หากไม่ทราบค่าที่จะวัดว่าเท่าไร ให้ตั้งย่านวัดที่ตำแหน่งสูงสุด (1,000V) ไว้ก่อน แล้วจึงปรับลดย่านให้ต่ำลงทีละย่าน จนกว่าเข็มมิเตอร์จะชี้ค่าที่อ่านได้ง่ายและถูกต้อง
4. ก่อนต่อมิเตอร์วัดแรงดันไฟสูงๆ ควรจะปิดสวิตช์ไฟ (OFF) ของวงจรที่จะวัดเสียก่อน
5. อย่าจับสายวัดหรือมิเตอร์ขณะวัดแรงดันไฟสูง เมื่อวัดเสร็จเรียบร้อยควรปิด (OFF) สวิตช์ไฟของวงจร ที่ทำการวัดเสียก่อนจึงปลดสายวัดของมิเตอร์ออกจากวงจร
การอ่านสเกลของเอซีโวลต์มิเตอร์


2. การวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง
ปรับมัลติมิเตอร์ให้เป็นโวลท์มิเตอร์ก่อน โดยหมุนสวิทช์บนตัวมิเตอร์ ไปที่ตาแหน่งช่วงการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง (DCV) (หมายเลขอ้างอิง 7) ซึ่งมี 7 ช่วงการวัดคือ 0-0.1V, 0-0.5V, 0.2.5V, 0-10V, 0-50V, 0-250V, 0-1000V
ลำดับขั้นการใช้ดีซีโวลต์มิเตอร์
1. เลือกตําแหน่งที่ต้องการวัดความต่างศักย์ และตรวจสอบทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้า
2. เสียบสายวัดมิเตอร์สีดําที่ขั้วลบ(- COM) และสายวัดสีแดงที่ขั้วบวก(+)เข้ากับมัลติมิเตอร์
3. ตั้งช่วงการวัดให้สูงกว่าความต่างศักย์ของบริเวณนั้น โดยหมุนสวิทช์บนตัวมิเตอร์ ไปที่ตําแหน่งช่วงการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง (DCV)
4. นําสายวัดมิเตอร์ไปต่อขนานหรือต่อคร่อมวงจร โดยใช้หัววัดแตะกับจุดที่ต้องการวัด และต้องให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าทางขั้วบวก (+) ของมัลติมิเตอร์เสมอ ถ้าวัดสลับขั้วเข็มวัดจะตีกลับ ต้องรีบเอาสายวัดมิเตอร์ออกจากวงจรทันที จากนั้นทําการสลับหัววัดให้ถูกต้อง

http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/khonkhan/electric/content/8_2.htm
http://th-multimeter.blogspot.com/p/blog-page_7.html

<< Go Back