เพื่อให้นักเรียนสามารถทดลองและบอกได้ว่ากระแสไฟฟ้าที่ผ่านลวดนิโครมแปรผัน ตรงกับความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างปลายของลวดนิโครมนั้น เมื่ออุณหภูมิของขดลวดคงตัว
1. กระบะถ่านพร้อมถ่านไฟฉาย 4 ก้อน |
2. ลวดนิโครม |
3. แอมมิเตอร์ |
4. โวลต์มิเตอร์ |
5. สวิตซ์ |
6. สายไฟ |
1. ต่อวงจรไฟฟ้าประกอบด้วยลวดนิโครม และแบตเตอรี่ 1 ก้อน ดังรูป ก.
2. ต่อแอมมิเตอร์เพื่อวัดกระแสในวงจร ดังรูป ข.
3. จากนั้นต่อโวลต์มิเตอร์ เพื่อวัดความต่างศักย์ระหว่างปลายของลวดนิโครม ดังรูป ค.
4. อ่านและบันทึกกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์
5. ทดลองซ้ำโดยเพิ่มแบตเตอรี่เป็น 2, 3 และ 4 ก้อน
6. นำข้อมูลที่ได้ไปเขียนกราฟ โดยให้กระแสไฟฟ้าเป็นแอมแปร์ อยู่บนแกนตั้ง และความต่างศักย์เป็นโวลต์ อยู่บนแกนนอน
ผลการทดลองที่ได้ คือ
จำนวนแบตเตอรี่ |
ความต่างศักย์ไฟฟ้า (V) |
กระแสไฟฟ้า (A) |
1 ก้อน |
1.1 |
0.12 |
2 ก้อน |
2.2 |
0.24 |
3 ก้อน |
3.0 |
0.33 |
4 ก้อน |
4.0 |
0.44 |
เมื่อนำผลที่ได้จากการทดลองมาเขียนกราฟระหว่างกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ จะได้กราฟดังนี้
สรุปได้ว่า
เมื่อเพิ่มจำนวนถ่านไฟฉาย ค่าของกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ที่อ่านได้จะเพิ่มขึ้น เขียนกราฟระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้าและค่าของกระแสไฟฟ้าได้กราฟเส้นตรงผ่านจุดกำเนิด สามารถสรุปได้ว่าค่าของกระแสไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นและความต่างศักย์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนกัน และอัตราส่วนระหว่างกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้ามีค่าคงตัว เมื่ออุณหภูมิคงตัว
|