เพื่อให้นักเรียนสามารถศึกษาชนิดของแรงระหว่างประจุไฟฟ้าและชนิดของประจุไฟฟ้า
1. แผ่นพีวีซี |
2. แผ่นเปอร์สเปกซ์ |
3. ผ้าสักหลาด |
4. ขาตั้ง |
5. เส้นด้าย |
|
1.นำปลายหนึ่งของเส้นด้ายผูกโยงกับแผ่นพีวีซี
2.นำอีกปลายหนึ่งของเส้นด้ายผูกกับแขนขาตั้ง จัดให้เส้นด้ายห้อยในแนวดิ่ง และให้แผ่นพีวีซีวางตัวในแนวระดับ
3.จับปลายข้างหนึ่งของแผ่นพีวีซีนี้ถูด้วยผ้าสักหลาดเพื่อให้มีประจุ แล้วปล่อยให้แผ่นพีวีซีวางตัวในแนวระดับดังเดิม
4.นำแผ่นพีวีซีอีกแผ่นหนึ่งที่ถูปลายข้างหนึ่งด้วยผ้าสักหลาดจนมีประจุ แล้วนำไปใกล้ปลายที่มีประจุของแผ่นพีวีซีที่แขวนอยู่ดังรูป
5.สังเกตการเบนของแผ่นพีวีซีที่แขวนอยู่
6.ทำการทดลองดังเดิม โดยเปลี่ยนแผ่นพีวีซีที่แขวนกับเส้นด้ายเป็นแผ่นเปอร์สเปกซ์ที่มีประจุ แล้วนำแผ่นเปอร์สเปกซ์อีกอันหนึ่งที่มีประจุมาเข้าใกล้ สังเกตการณ์เบนของแผ่นเปอร์สเปกซ์ที่แขวนอยู่
7.หลังจากนั้น ทำการทดลองสลับชนิดของแผ่นที่แขวนเป็นแผ่นพีวีซีแล้วทำให้มีประจุ แต่ใช้แผ่นเปอร์สเปกซ์ที่มีประจุ สังเกตผลที่เกิดขึ้น
ผลการทดลองที่ได้ คือ
ชนิดของวัตถุที่มีประจุ |
ชนิดแรง |
พีวีซี กับ พีวีซี |
ผลักกัน |
เปอร์สเปกซ์ กับ เปอร์สเปกซ์ |
ผลักกัน |
พีวีซี กับ เปอร์สเปกซ์ |
ดูดกัน |
สรุปได้ว่า
1.แรงระหว่างประจุไฟฟ้ามี 2 ชนิด คือแรงดูด และแรงผลัก
2.ในการใช้วัตถุคู่หนึ่งถูกัน ประจุที่เกิดขึ้นบนวัตถุหนึ่งจะเป็นประจุชนิดเดิมเสมอ แต่ถ้าถูด้วยวัตถุต่างชนิด ประจุไฟฟ้าบนวัตถุนั้นอาจจะมีประจุต่างชนิดกับครั้งแรกก็ได้ เช่น ครั้งแรกถูพีวีซีด้วยผ้าสักหลาด ครั้งที่ 2 ถูแผ่นพีวีซีด้วยผ้าไหม ประจุที่เกิดขึ้นบนแผ่นพีวีซี จากการถูทั้งสองครั้งอาจไม่ใช้ชนิดเดียวกันก็ได้
3.แรงระหว่างประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันเป็นแรงผลักกัน และแรงระหว่างประจุไฟฟ้าต่างชนิดเป็นแรงดูด ประจุไฟฟ้าที่ปรากฏบนวัตถุมี 2 ชนิด เรียกว่า ประจุบวก และประจุลบ
|