<< Go Back

           เพื่อให้นักเรียนสามารถหาความยาวคลื่นแสงโดยใช้เกรตติง

          1.กล่องแสง

     2.หม้อแปลงไฟโวลต์ต่ำ

3.ไม้เมตร

           4. เกรตติง

           1.ต่อหลอดไฟไส้ตรงที่อยู่ในกล่องแสงเข้ากับหม้อแปลงไฟโวลต์ต่ำ โดยใช้ความต่างศักย์ประมาณ 10 - 12 โวลต์
           2.วางไม้บนกล่องแสงในแนวตั้งฉากกับความยาวของกล่องแสง โดยให้ขีด 50.0 เซนติเมตรอยู่ตรงกับไส้หลอดพอดี           
           3.มองไส้หลอดไฟฟ้าผ่านเกรตติง โดยให้เกรตติงอยู่ห่างจากไส้หลอดประมาณ 1.0 เมตร ดังรูป

           4.วัดระยะห่างของแสงสีต่างๆในแถบสว่างที่ 1 ของแสงสีต่างๆ โดยวัดจากแนวกลาง คือ ขีด 50.0 เซนติเมตร ให้วัดระยะ x ของแถบสว่างกลางทั้งสองข้าง ( เพื่อหาระยะห่างเฉลี่ย ) 5.บันทึกค่าในตารางคำนวณค่าในตารางคำนวณหาความยาวคลื่นของแสงสีต่างๆ โดยใช้ความสัมพันธ์

           ผลการทดลองที่ได้ คือ

สรุปได้ว่า
           แสงสีต่างๆมีความยาวคลื่นของแสงสีม่วงสั้นที่สุด และความยาวคลื่นจะมีค่ามากขึ้นตามลำดับ เมื่อเป็นแสงสีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีแสดและสีแดงจะมีความยาวคลื่นมากที่สุด

     1. เลเซอร์ไดโอด

2. กระดาษเทาขาว

3. ดินน้ำมัน

  4. ไม้เมตร

           5. เกรตติง

           1.ใช้แผ่นกระดาษแข็งสีขาวที่กว้างประมาณ 1 เมตรตั้งในแนวดิ่งเป็นฉากรับแสง           
           2.วางแผ่นเกรตติงในแนวดิ่งบนโต๊ะและให้อยู่ห่างจากฉากประมาณ 50 เซนติเมตร 3.ฉายแสงเลเซอร์จากอุปกรณ์เลเซอร์ไดโอดผ่านเกรตติง จะปรากฏภาพแสงเลเซอร์ ณ ตำแหน่งต่างๆบนฉาก ดังรูป

           4.วัดระยะห่างระหว่างแถบสว่างที่ 1 กับแถบสว่างกลาง โดยวัดระยะห่างทั้งสองข้างของแถบสว่างที่ 1 (เพื่อหาระยะห่างเฉลี่ย) บันทึกค่าในตาราง คำนวณหาความยาวคลื่นของแสงเลเซอร์ โดยใช้ความสัมพันธ์ 

           ผลการทดลองที่ได้ คือ

ระยะห่างของแถบสว่างที่ 1 จากแถบสว่างกลาง

ความยาวคลื่น (nm)

ทางด้านซ้าย(cm)

ทางด้านขวา(cm)

ระยะเฉลี่ย(cm)

18.6

18.5

18.55

656

           ตำแหน่งแถบสว่างของแสงเลเซอร์ได้ ดังรูป

สรุปได้ว่า
           แถบสีต่างๆที่เห็นจากการมองผ่านเกรตติงนั้น เรียกว่าสเปกตรัมของแสงขาว แสดงว่าแสงขาวประกอบด้วยแสงสีต่างๆมารวมกัน จะสังเกตเห็นและบอกตำแหน่งของแถบสว่างได้อย่างถูกต้อง เมื่อระยะห่างระหว่างช่องที่ติดกันของเกรตติง d และระยะระหว่างเกรตติงกับฉาก D มีค่าเหมาะสม
           เมื่อ d มีค่ามากขึ้นเรื่อยๆ แถบสว่างแต่ละแถบจะอยู่ชิดกันมากขึ้น ทำให้ไม่สามารถสังเกตภาพการแทรกสอดได้ชัดเจน แสดงว่า เกรตติงที่ใช้นั้น ควรมีจำนวนช่องมากๆ เพื่อให้ระยะ d มีค่าน้อยจะทำให้แถบแสงสีของภาพแทรกสอดชัดเจน สะดวกในการวัดระยะทางต่างๆ


<< Go Back