เพื่อให้นักเรียนศึกษาการเลี้ยวเบนของแสง
1.กล่องแสง |
2.หม้อแปลงไฟโวลต์ต่ำ |
3. สลิตเดี่ยว และ แผ่นกรองแสงสีแดง
1.ต่อหลอดไฟไส้ตรงที่อยู่ในกล่องแสงเข้ากับหม้อแปลงไฟโวลต์ต่ำ โดยใช้ความต่างศักย์ประมาณ 8-10 โวลต์
2.ใช้แผ่นกรองแสงสีแดงเสียบที่ร่องของกล่องแสง เพื่อกรองแสงจากกล่องแสงให้เป็นแสงสีแดงบริสุทธิ์สำหรับผ่านสลิต มองไส้หลอดไฟผ่านสลิตคู่ ที่อยู่ห่างกันประมาณ 50 ไมโครเมตร
3.สังเกตและบันทึกภาพที่เห็น ให้สังเกตบริเวณที่ตรงกับไส้หลอดไฟเป็นพิเศษ 4.ทำการทดลองซ้ำโดยไม่ใช้แผ่นกรองแสงสีแดง (ไม่ต้องบันทึกภาพ)
ผลการทดลองที่ได้ คือ
เมื่อแสงสีแดง แถบสว่างตรงกลางที่ตรงกับไส้หลอดไฟ มีขนาดใหญ่และเป็นสีแดงสว่าง และมีแถบมืดแถบสว่างแผ่ออกไปทั้งสองข้าง แถบสว่างมีขนาดเล็กลงและความสว่างลดลงตามลำดับ
ในกรณีที่ไม่ใช้แผ่นกรองแสงสีแดง ภาพแทรกสอดมีลักษณะและขนาดเหมือนกรณีแรก แต่แถบสว่างกลางเป็นแสงขาว ส่วนแถบอื่นๆ จะเห็นเป็นสเปกตรัมของแสงขาว (แสงสีเขียวและแสงสีแดงชัดเจนที่สุด)
สรุปได้ว่า
1.เมื่อแสงผ่านสลิตเดี่ยว แถบสว่างกลางมีขนาดใหญ่กว่าความกว้างของช่องสลิต แสดงว่า แสงมีสมบัติการเลี้ยวเบน
2.ภาพการเลี้ยวเบนจากสลิตเดี่ยว นอกจากมีแถบสว่างกลางแล้ว ยังมีแถบมืด แถบสว่างสลับกันถัดจากแถบสว่างออกไปทั้งสองข้าง แสดงว่า แสงผ่านสลิตเดี่ยวจะมีทั้งการเลี้ยวเบนและการแทรกสอด
3.แถบสว่างกลางมีขนาดใหญ่กว่าแถบสว่างอื่นๆ
4.กรณีที่ใช้แผ่นกรองแสงสีแดง แถบสว่างทุกแถบเป็นสีแดง
5.กรณีที่ไม่ใช้แผ่นกรองแสงสีแดง แถบสว่างกลางเป็นแถบสว่างของแสงขาว ส่วนแถบอื่นๆ จะเป็นสเปกตรัมของแสงขาว (แสงสีเขียวและแสงสีแดงชัดเจนที่สุด)
6.แสงมีการเลี้ยวเบนเพราะแถบสว่างกลางกว้างกว่าช่องสลิตและถัดจากแถบสว่างกลางออกไปทั้งสองข้าง เกิดแถบสว่างและแถบมืดสลับกัน
|