เพื่อให้นักเรียนศึกษาภาพที่เกิดจากการแทรกสอด
1.กล่องแสง |
2.หม้อแปลงไฟโวลต์ต่ำ |
3.สลิตคู่และแผ่นกรองแสงสีแดง(อยู่ในชุดแสง)
1.ต่อสายไฟตรงที่อยู่ในกล่องแสงเข้ากับหม้อแปลงไฟที่มีโวลต์ต่ำ โดยใช้ความต่างศักย์ประมาณ 8-10 โวลต์
2.ใช้แผ่นกรองแสงสีแดงเสียบที่ร่องของกล่องแสง เพื่อกรองแสงจากกล่องแสงให้เป็นแสงสีแดงบริสุทธิ์สำหรับผ่านสลิต มองไส้หลอดไฟผ่านสลิตคู่ ที่อยู่ห่างกันประมาณ 50 ไมโครเมตร โดยให้สลิตอยู่ใกล้ตา และให้ช่องสลิตขนานกับไส้หลอด สังเกตและบันทึกภาพที่เห็น
3.ทำการทดลองซ้ำโดยใช้สลิตคู่ที่มีระยะห่างระหว่างช่องเท่ากับ 100 และ 250 ไมโครเมตร สังเกตและบันทึกภาพที่เกิดขึ้น
4.ทำการทดลองซ้ำโดยไม่ใช้แผ่นกรองแสงสีแดง (ไม่ต้องบันทึกภาพ)
ผลการทดลองที่ได้ คือ
1.เมื่อแสงสีแดงผ่านสลิตคู่ที่มีช่องทั้งสองอยู่ห่างกัน 50 จะเห็นแถบมืดแถบสว่างสีแดงสลับกันไปทั้งสองของไส้หลอด แถบสว่างตรงกลางที่ตรงกับไส้หลอด แถบสว่างแต่ละแถบใกล้เคียงกันด้วย
การมองผ่านสลิตคู่ที่มีช่องทั้งสองอยู่ห่างกัน 100 และ 250 จะเห็นแถบมืดแถบสว่างสลับกันเช่นเดียวกับเมื่อมองผ่านสลิตคู่ที่มีระยะระหว่างช่อง 50 แต่แถบสว่างมีขนาดเล็กกว่า แถบสว่างจะมีขนาดใหญ่ที่สุดและเล็กที่สุด เมื่อมองผ่านสลิตคู่ที่มีระยะระหว่างช่องห่างกัน 50 100 และ 250 ตามลำดับ
2.ในกรณีที่ใช้แผ่นกรองแสงสีแดงกั้นหลอดไฟ แถบสว่างที่เห็นจากภาพแทรกสอดแถบสว่างกลางที่ตรงกับไส้หลอดจะเห็นเป็นสีแดง ส่วนบริเวณถัดไปทั้ง 2 ข้าง แถบแดงสลับกับแถบมืด แต่ถ้าไม่ใช้แผ่นกรองแสงสีแดง แถบสว่างกลางที่ตรงกับไส้หลอดจะเห็นเป็นแสงขาวส่วนบริเวณถัดไปทั้งสองข้างจะเห็นเป็นแถบสเปกตรัมของแสงขาวสลับกับแถบมืด
สรุปได้ว่า
1. เมื่อแสงสีแดงผ่านสลิตคู่ จะเห็นภาพแทรกสอดของแสงเป็นแถบสว่าง (แดง) และแถบมืดสลับกัน แผ่ออกไปทั้งสองข้างของไส้หลอดไฟ แสดงว่าคลื่นแสงมีการแทรกสอดแบบเสริมและแบบหักล้าง
2. เมื่อแสงขาวผ่านสลิตคู่ จะเกิดการแทรกสอดของแสงเช่นเดียวกับกรณีแสงสีแดง แต่ต่างกันตรงแถบสว่างของกรณีแสงขาว จะเป็นสเปกตรัมของแสงขาว (แสงสีเขียวและแสงสีแดงชัดเจนที่สุด)
3. สำหรับสลิตคู่แต่ละขนาดนั้น แถบมืดกับแถบสว่างมีขนาดเท่ากัน แต่จากการทดลอง ความสว่างจากแถบสว่างที่ติดกับแถบมืดได้แผ่ไปยังบริเวณแถบมืด ทำให้มองเห็นเสมือนแถบมืดเล็กลงจากความเป็นจริง
4. สำหรับสลิตคู่แต่ละขนาดนั้น ความเป็นจริงแล้วบริเวณแถบสว่างกลางประกอบด้วยแถบสว่างและกลางได้ชัดเจนขึ้น
|
|