<< Go Back

        เพื่อให้นักเรียนศึกษาคลื่นนิ่งในเส้นเชือก

1. เครื่องเคาะสัญญาณเวลา

2. หม้อแปลงโวลต์ต่ำ

    3. สายไฟ

        1. ผูกปลายเชือกข้างหนึ่งของเส้นเชือกที่ยาวประมาณ 2 เมตร กับแผ่นเหล็กสปริง ของเครื่องเคาะสัญญาณเวลา (ซึ่งทำหน้าที่เป็นแหล่งกำเนิดคลื่น)        
        2. ดึงปลายเชือกข้างหนึ่งของเชือกให้เส้นเชือกมีความตึงพอเหมาะ (ไม่หย่อน)
        3. เปิดสวิตซ์ให้เครื่องเคาะสัญญาณเวลาทำงาน
        4. สังเกตลักษณะของคลื่นที่เกิดขึ้น
        5. ออกแรงดึงเพิ่มเพื่อให้เส้นเชือกตึงมากขึ้น 6. สังเกตลักษณะของคลื่นที่เกิดขึ้น

        เมื่อเครื่องเคาะสัญญาณเวลาทำงาน แผ่นสปริงจะสั่น ทำให้เกิดคลื่นตามขวางต่อเนื่องในเส้นเชือก เคลื่อนที่มาทางปลายเส้นเชือกที่พาดกับรอกคลื่นจะสะท้อนกลับไปแทรกสอดกับคลื่นที่ตกกระทบ โดยตำแหน่งต่างๆ ที่เกิดการแทรกสอดแบบเสริมและการแทรกสอดแบบหักล้าง จะอยู่คงที่ตลอดเวลา ซึ่งเรียกว่า คลื่นนิ่ง ตำแหน่งที่อนุภาคของเชือกสั่นมากที่สุด หรือมีการกระจัดมากที่สุดเป็น ปฏิบัพ ซึ่งจะมองเห็น คือ ส่วนที่เป็นวง (loop) ของเชือก และตำแหน่งที่อนุภาคของเชือกไม่สั่นเลยหรือมีการกระจัดเป็นศูนย์จะเป็นบัพ ซึ่งอยู่ตรงส่วนต่อระหว่างวงหนึ่งถึงวงถัดไป ดังรูป


<< Go Back