<< Go Back

เพื่อให้นักเรียนศึกษาแรงลอยตัวที่กระทำต่อวัตถุที่อยู่ในของเหลว

เครื่องชั่งสปริง

ถ้วยยูเรกา

บีกเกอร์

กระบอกตวง

แท่งเหล็กมวล 500 g

เส้นด้าย

         ชั่งน้ำหนักวัตถุในอากาศ แล้วนำวัตถุไปชั่งน้ำหนักในน้ำที่บรรจุในถ้วยยูเรกาที่มีน้ำถึงขอบพวย รองรับน้ำที่ล้นออกมาด้วยบีกเกอร์หรือกระบอกตวง ผลการทดลอง

วัตถุ

น้ำหนักของวัตถุ
ในอากาศ (N)

น้ำหนักของวัตถุ
ในน้ำ (N)

น้ำหนักของวัตถุ
ที่หายไป (N)

ปริมาตรของน้ำ
ที่ล้น (cm3)

น้ำหนักของน้ำ
ที่ล้น (N)

เหล็ก

4.85

4.15

0.70

67.0

0.66

        เมื่อหาน้ำหนักของน้ำที่ล้นจะพบว่ามีค่าใกล้เคียงน้ำหนักของเหล็กที่หายไปในน้ำ แสดงว่าวัตถุที่จม ขนาดของแรงลอยตัวเท่ากับขนาดของน้ำหนักของของเหลวที่ถูกแทนที่ ในทำนองเดียวกัน ถ้าทดลองวัตถุที่ลอย ขนาดของแรงลอยตัวเท่ากับขนาดของน้ำหนักของของเหลวที่มีปริมาตรเท่าวัตถุส่วนที่จม
          สามารถสรุปได้ว่า น้ำหนักของเหล็กในน้ำน้อยกว่าน้ำหนักของเหล็กในอากาศ แต่เนื่องจากน้ำหนักของเหล็ก ณ ตำแหน่งนั้นไม่เปลี่ยนแปลง แสดงว่ามีแรงเนื่องจากของเหลวกระทำต่อเหล็ก แรงนี้เรียกว่า แรงลอยตัว ซึ่งมีขนาดเท่ากับ
          น้ำหนักของเหล็กในอากาศ – น้ำหนักของเหล็กในน้ำหรือน้ำหนักของเหล็กที่หายไป


<< Go Back