<< Go Back

         1. เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกจากการสังเกตแนวการเคลื่อนที่ของโลหะกลมได้ว่า เป็นแนวโค้ง
         2. เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกได้ว่าเมื่อปล่อยลูกกลมเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งที่สูงกว่า จะตกถึงพื้นได้ระยะทางในแนวระดับที่ไกลกว่า
         3. เพื่อให้นักเรียนสามารถสรุปจากการเขียนตำแหน่งโลหะกลมบนกระดาษกราฟได้ว่า แนวการเคลื่อนที่ของโลหะกลมเป็นแนวโค้ง

         1. แป้นไม้พร้อมรางโลหะ
         2. ที่กั้นปิดทับด้วยกระดาษขาว และมีกระดาษคาร์บอนปิดทับกระดาษขาว

  3. โลหะกลม

    4. กระดาษกราฟ

ตอนที่ 1 จัดตั้งอุปกรณ์
  1. ประกอบรางอะลูมิเนียมเข้ากับแป็นไม้ ให้รางด้านล่างอยู่ในแนวระดับ แล้วติดกระดาษกราฟเข้ากับแป็นไม้ ดังรูป

2. ตัดกระดาษขาวและกระดาษคาร์บอนขนาดกว้างยาวเท่ากับแผ่นโลหะที่ใช้เป็นเป้าและปิดกระดาษขาวเข้ากับเป้า แล้วปิดกระดาษคาร์บอนทับกระดาษขาวโดยยึดติดเฉพาะปลายบนของกระดาษคาร์บอน จากนั้นวางเป้าให้ชิดปลายรางอะลูมิเนียมและด้านยาวของเป้าทาบบนเส้นทึบของกระดาษกราฟให้พอดี
ตอนที่ 2
        หาเส้นทางการเคลื่อนที่ วางลูกกลมโลหะบนรางอะลูมิเนียมซึ่งใกล้ปลายรางตอนบน โดยถือไม้บรรทัดกั้นลูกกลมโลหะไว้ ยกไม้บรรทัดขึ้นอย่างรวดเร็ว ลูกกลมโลหะจะกลิ้งลงมาตามรางเข้าชนเป้าเมื่อยกปลายล่างของกระดาษคาร์บอนขึ้น จะเห็นจุดดำบนกระดาษขาว ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ลูกกลมโลหะชนเป้า ทำเครื่องหมายบนกระดาษกราฟให้มีระดับตรงกับจุดดำบนเป้า ทำการทดลองซ้ำ แต่ละครั้งที่ทดลองต้องวางลูกกลมโลหะที่ตำแหน่งเดิม แต่เลื่อนเป้าออกไปครั้งละ 1 เซนติเมตร จนกระทั่งลูกกลมโลหะไม่กระทบเป้า
            เมื่อทดลองเสร็จแล้วให้ลากเส้นผ่านจุดทุกจุดบนกระดาษกราฟ จะได้กราฟเป็นเส้นทางการเคลื่อนที่แบบโปรเจกไทล์ของลูกกลมโลหะ
ตอนที่ 3 การวิเคราะห์โดยการเขียนกราฟ
            กำหนดให้จุดบนกราฟจุดแรกซึ่งตรงกับจุดที่ลูกกลมโลหะกระทบเป้าเมื่อวางชิดปลายรางด้านล่างเป็นจุดกำเนิด ลากแกนนอนหรือแกน x และแกนยืนหรือแกน y จากกราฟที่ได้วัดการกระจัดในแนวระดับกำลังสอง x2 ออกแบบตารางและบันทึกผล ลงในตาราง เขียนกราฟระหว่างการกระจัดในแนวดิ่ง y กับการกระจัดในแนวระดับ กำลังสอง x2

            ผลการทดลองที่ได้ คือ แนวการเคลื่อนที่ของลูกกลมโลหะบนกระดาษกราฟ จะได้ดังรูป

การกระจัดในแนวระดับx
(cm)

การกระจัดในแนวดิ่ง y
(cm)

x2
(cm2)

1

0.10

1

2

0.35

4

3

0.70

9

4

1.20

16

5

1.90

25

6

2.65

36

7

3.50

49

 

การกระจัดในแนวระดับx
(cm)

การกระจัดในแนวดิ่ง y
(cm)

x2
(cm2)

8

4.45

64

9

5.55

81

10

6.80

100

11

8.25

121

12

9.70

144

            จากผลการทดลองจะได้กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการกระจัดในแนวดิ่งและการกระจัดในแนวระดับยกกำลังสองได้ดังกราฟ

สรุปได้ว่า
1. การปล่อยลูกกลมโลหะที่ตำแหน่งเดียวกันทุกครั้งที่ทำการทดลอง เพื่อให้ความเร็วของลูกกลมโลหะหลุดจากปลายรางมีค่าเท่ากัน
2. แนวการเคลื่อนที่ของลูกกลมโลหะที่ปรากฏบนกระดาษกราฟเป็นแนวโค้ง
3. จากกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการกระจัดในแนวดิ่งและการกระจัดในแนวระดับยกกำลังสอง ทำให้สรุปได้ว่า y = kx2 ซึ่งเป็นสมการของเส้นกราฟพาราโบลา


<< Go Back