<< Go Back

           เพื่อให้นักเรียนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงที่มากระทำต่อวัตถุ กับความเร่งของวัตถุที่เป็นผลมาจากแรง เมื่อมวลของวัตถุที่พิจารณามีค่าคงตัว

1. ชุดทดลองความสัมพันธ์ระหว่างแรงกับความเร่ง

   
2. รางไม้

3. เครื่องเคาะสัญญาณเวลา

 

4. หม้อแปลงไฟฟ้าโวลต์ต่ำ

 

5. แถบกระดาษ

 

ตอนที่ 1
          1.วางรางไม้บนโต๊ะ นำแขนรางไม้ที่มีรอกติดอยู่มาประกอบกับรางไม้
          2.ให้ปลายรางไม้ยื่นพ้นขอบโต๊ะเล็กน้อย นำรถทดลองวางบนรางไม้ แล้วติดปลายข้างหนึ่งของแถบกระดาษกับท้ายของรถทดลอง นำปลายแถบกระดาษสอดผ่านเครื่องเคาะสัญญาณเวลาต่อกับหม้อแปลง ผูกเชือกผ่านแกนเหล็กหน้ารถ แล้วคล้องเชือกผ่านรอกห้อยลงแนวดิ่ง ผูกตะขอโลหะที่ปลายเชือกอีกด้านหนึ่ง
ตอนที่ 2
          ทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดความเร่งกับขนาดของแรงดึง เมื่อมวลของวัตถุมีค่าคงตัว
          1. นำน๊อต 1 ตัว คล้องกับขอเกี่ยวโลหะ จับรถทดลองไว้ จัดแถบกระดาษให้ เรียบร้อย
          2. ปล่อยรถเคลื่อนที่ของการห้อยนอต 1,2,3,4,5 ตัว ตามลำดับ
          3. หา a ของรถทดลองเนื่องจากแรงดึง F = mg

          ผลการทดลองที่ได้ ดังตาราง

เวลา
(วินาที)

ความเร็ว (เมตร / 4 ช่วงจุด)

แรง 1

แรง 2

แรง 3

แรง 4

3/50

0.3

0.5

0.35

0.3

6/50

0.6

0.9

0.95

0.5

10/50

0.85

1.5

1.55

1.15

14/50

1.25

2

2.35

2.05

18/50

1.55

2.5

3

2.9

22/50

185

3

8

3.3

26/50

2.15

3.55

4.35

4.7

30/50

2.45

4

5.15

5.65

34/50

2.75

4.65

5.8

6.25

38/50

3

5

6.5

7.2

42/50

3.4

5.54

7

8.05

สรุปได้ว่า
        เมื่อมีแรงลัพธ์ซึ่งมีขนาดไม่เป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุ จะทำให้เกิดความเร่งในทิศเดียวกับแรงลัพธ์ที่มากระทำ  และขนาดของความเร่งจะแปรผกผันกับมวลของวัตถุ ซึ่งเป็นไปตาม กฎข้อที่ 2 ของนิวตัน


<< Go Back