<< Go Back

            1. เพื่อให้นักเรียนสามารถทดลองและอธิบายปฏิกิริยาระหว่างแป้งกับกรดได้
            2. ทดสอบหาแป้งและน้ำตาลในอาหารได้

1. หลอดทดลองขนาดใหญ่ 5 หลอด
2. หลอดหยด 2 อัน
3. กระบอกตวงขนาด 10 cm3 (หรือหลอดฉีดยา) 1 อัน
4. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลม 1 ชุด
5. แท่งแก้วคน 2 อัน
6. ข้าวเจ้าสุก 10 g
7. สารละลาย HCI 6 mod/dm3 5 cm3
8. สารละลายเบเนดิกต์ 1 cm3
9. สารละลายทิงเจอร์ไอโอดีน 1% 1 cm3

            1. นำข้าวเจ้าที่สุกแล้วประมาณ 10 g บดให้ละเอียด   แบ่งออกเป็น  4  ส่วนเท่า ๆ กันใส่ในหลอดทดลองขนาดใหญ่ 4 หลอด
            2.  เติมน้ำกลั่นจำนวน  5  cm3      ลงในหลอดทดลองที่ 1 และที่ 3 
            3.  เติมสารละลายกรดไฮโดรคลอริก  ความเข้มข้น 6 mod/dm3      จำนวน  5  cm3  ลงในหลอดทดลองที่ 2 และที่ 4
            4.  คนสารในหลอดทั้ง  4  ให้ผสมเข้าด้วยกัน  ตั้งไว้ประมาณ  10  นาที 
            5.  หยดทิงเจอร์ไอโอดีน 2-3 หยด  ลงในหลอดทดลองที่ 1 และที่  2  เขย่า  สังเกตและบันทึกผล
            6.  เติมสารละลายเบเนดิกต์  จำนวน  2  cm3      ลงในหลอดทดลองที่   3 และ ที่ 4  เขย่าแล้วนำไปอุ่นในน้ำร้อนเกือบเดือดประมาณ 3 นาที  สังเกตและบันทึกผล
            7.  ทำการทดลองซ้ำข้อ 1-6  โดยเลือกใช้แป้งตามความสนใจ เช่น  แป้งข้าวเหนียว  แป้งมัน  แป้งข้าวโพด  มันฝรั่ง  และมันเทศ  เป็นต้น 
            8.   เปรียบเทียบผลการทดลองทั้งห้อง  นำเสนอและสรุปผลการทดลอง

            จากผลการค้นคว้าสามารถสรุปผลการทดลองได้ดังนี้

สาร

การเปลี่ยนแปลงเมื่อเติม

สารละลายทิงเจอร์ไอโอดีน

สารละลายเบเนดิกต์ (อุ่น)

1.  ข้าวเจ้าสุก + น้ำกลั่น
2.  ข้าวเจ้าสุก
+ กรดไฮโดรคลอริก

เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน
เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน

ไม่เปลี่ยนแปลง 
เปลี่ยนเป็นสีส้ม
และมีตะกอนสีแดงอิฐ

            1. ข้าวเจ้าสุกในน้ำกลั่นไม่เกิดปฏิกิริยากับเบเนดิกต์จึงทำให้สารละลายไม่เปลี่ยนแปลง  แต่ข้าวเจ้าสุกในกรดไฮโดรคลอริก เกิดปฏิกิริยากับเบเนดิกต์มีตะกอนสีแดง อิฐเกิดขึ้นแสดงว่าแป้งถูกกรดย่อยสลายให้กลูโคส  ซี่งทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์
            2. ข้าวเจ้าสุกในน้ำกลั่นและในกรดไฮโดรคลอริกเปลี่ยนสีของสารละลายทิงเจอร์ไอโอดีนเป็นสีน้ำเงิน ทำให้ทราบได้ว่ามีแป้งเหลือ อยู่แสดงว่ากรดไฮโครคลอริกย่อยสลายแป้งยังไม่หมด




<< Go Back