<< Go Back

            เพื่อให้นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลแหล่งวัตถุดิบ วิธีการทำยางแผ่นและยางรมควันในประเทศไทยได้

            ให้นักเรียนค้นหาข้อมูลในห้องสมุดหรืออินเตอร์เน็ต โดยการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งวัตถุดิบที่ใช้ทำยางในประเทศไทย และขั้นตอนการทำยางแผ่นในประเทศไทย จากนั้นทำการบันทึกข้อมูลที่ได้พร้อมกับสรุปข้อมูลให้อาจารย์และเพื่อนในชั้นเรียนร่วมกันอภิปรายจากหัวข้อดังกล่าว

                จากผลการสืบค้นข้อมูลสามารถสรุปเนื้อหาต่าง ๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ยางพารา

                ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตยางพาราเป็นอันดับ 1 ของโลกประมาณปีละ 2 ล้านตันเศษ หรือ มากกว่า 1 ใน 3 ของโลก เป็นผู้ส่งออกยางแผ่นรายใหญ่ ปัจจุบันมีการส่งออกในรูปของยางแท่งบ้างแล้ว เนื่องจากได้ราคาที่ดีกว่า อินโดนีเซียซึ่งผลิตได้เป็นอันดับ 2 โดยส่งออกในรูปแบบของยางแท่ง อินเดียเป็นผู้ส่งออกอันดับ 3 ในปัจจุบันเวียดนามเป็นประเทศที่ผลิตยางส่งออกรายล่าสุด ยางที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด คือสายพันธ์ Hevea Brasiliensis เป็นสายพันธ์ที่มีการปลูกและซื้อขายกันมานานแล้ว ซึ่งมีศูนย์กลางการซื้อขายยางอยู่ที่เมืองท่า ชื่อพารา (Para) ประเทศบราซิล ดังนั้นจึงเรียกยางสายพันธ์ดังกล่าวว่ายางพารามาจนถึงปัจจุบัน

วิธีการทำยางแผ่น มีขั้นตอนดังนี้

                1. นำน้ำยางที่ได้กรองด้วยเครื่องกรองลวดเบอร์ 40 และ เบอร์ 60 โดยซ้อนเบอร์ 40 ไว้ด้านบน
                2. เติมน้ำสะอาดผสมกับน้ำยางในอัตราส่วน 2:3
                3. เทน้ำยางผสม 5 dm3 ลงในตะกงอะลูมีเนียมจะได้ยางมาตรฐาน 1 แผ่น (ตะกง คือ ภาชนะสี่เหลี่ยมที่ใช้ใส่น้ำยาง เพื่อทำยางแผ่น)
                4. เตรียมกรดฟอร์มิกเจือจาง 2.5 % โดยใช้อัตราส่วนของกรดฟอร์มิกเข้มข้น (85-90%) จำนวน 12 cm3 กับน้ำสะอาด 300 cm3
                5. ผสมกรดฟอร์มิกเจือจาง 300 cm3 กับน้ำยางในตะกงคนให้เข้ากัน ช้อนฟองที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหน้าเก็บไว้ขายเป็นเศษยางชั้นดี
                6. ทิ้งไว้ 30-45 นาที ยางจะแข็งตัวแล้วเทออกจากตะกง บีบยางให้เป็นแผ่นหนาประมาณ 1 cm. จากนั้นเข้าเครื่องรีดยางให้เป็นแผ่นหนาประมาณ 3 mm.
                7. นำแผ่นยางแช่ในน้ำ 30 นาที เพื่อล้างกรดออกให้หมด จากนั้นนำไปผึ่งบนราวให้แห้ง จะได้ยางแผ่นหนักประมาณ 800-1,200 กรัม

ยางสังเคราะห์
ยางสังเคราะห์แบ่งออกตามสมบัติของยางได้  2  กลุ่ม  คือ 
                1. กลุ่มที่ทนความร้อนได้ดีกว่ายางธรรมชาติ  แต่ความเหนียวและความยืดหยุ่นด้อยกว่า  เช่น  ยาง  SBR  (Polybutadiene rubber)
                2. กลุ่มที่ทนต่อน้ำมัน  ความร้อน และโอโซน  เช่น  ยาง CR  (chloroprene  rubber) , ยาง NBR  (acrylonitrile  butadiene rubber)


 

<< Go Back