1. เพื่อให้นักเรียนสามารถทดสอบเพื่อบอกชนิดของพลาสติกรีไซเคิล
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถวางแผนและทดสอบชิ้นพลาสติกพลาสติกตัวอย่างที่กำหนดให้ เพื่อบอกว่าเป็นพลาสติกรีไซเคิลชนิดใด
3. บอกเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกชนิดของพลาสติกรีไซเคิล
1. บิ๊กเกอร์ขนาด 100 cm3 |
3 ใบ |
2. คีมคีบ |
1 อัน |
3. พลาสติกตัวอย่าง 7 ชนิด ชนิดละ 1 ชิ้น |
7 ชิ้น |
4. น้ำกลั่น |
50 cm3 |
5. น้ำมันพืช |
50 cm3 |
6. สารละลายแอซีโตน |
50 cm3 |
รูปสัญลักษณ์แสดงประเภทของพลาสติกที่นำกลับมาใช้ไหม้ได้
1. สำรวจผลิตภัณฑ์พลาสติกในชีวิตประจำวันว่าเป็นพลาสติกชนิดใด และเก็บตัวอย่างพลาสติกชนิดละ 1 ชิ้น มาทำการทดสอบสมบัติต่อไปนี้
2. นำชิ้นเล็ก ๆ ของพลาสติกรีไซเคิลที่มีหมายเลข 1, 2 , 3 , 4 , 5 , 6 และพลาสติกที่ไม่มีหมายเลขใด ๆ อย่างละ 1 ชิ้น ใส่ลงไปในน้ำ สังเกตการลอยและบันทึกผลลงในแบบบันทึกผลที่นักเรียนช่วยกันสร้างขึ้น
3. นำชิ้นพลาสติกที่ลอยน้ำ (เช็ดให้แห้ง) ใส่ลงในน้ำมันพืช สังเกตและบันทึกผลการลอยในน้ำมันพืช
4. นำชิ้นพลาสติกที่จมน้ำ (เช็ดให้แห้ง) แช่ในสารละลายอะซีโตนประมาณ 1 นาทีแล้วนำขึ้นมาสังเกตและบันทึกผล
5. สรุปและนำเสนอผลการทดสอบ
จากผลการทดลองสามารถสรุปผลจากกิจกรรมได้ดังนี้
พลาสติกหมายเลข |
ผลการทดสอบพลาสติก |
1,3 และ 6
2
4
5
6 |
จมน้ำ
จมในน้ำมันพืช
กึ่งจม กึ่งลอยในน้ำมันพืช
ลอยในน้ำมันพืช
เกิดการเปลี่ยนแปลงในแอซีโตน |
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การจำแนกชนิดของพลาสติกรีไซเคิลด้วยวิธีนี้ใช้ความหนาแน่นของพลาสติกเป็นเกณฑ์ ซึ่งพลาสติกที่จมน้ำจะมีความหนาแน่นมากกว่า 1 g/cm3 พลาสติกลอยน้ำมีความหนาแน่นน้อยกว่า 1 g/cm3 พลาสติกลอยในน้ำมันพืชมีความหนาแน่นน้อยกว่า g/cm3
เพิ่มเติม ตารางความหนาแน่นของสารชนิดต่าง ๆ
ชนิดของสาร |
น้ำ |
PETE |
HDPE |
PVE |
LDPE |
PP |
PS |
ความหนาแน่น g/cm3 |
1.0 |
1.38-1.39 |
0.95-0.97 |
1.16-1.35 |
0.92-0.94 |
0.90-0.91 |
1.05-1.07 |
|